กระบวนการเสริมสร้างอุดมการณ์แบบประชาธิปไตยฐานคติหุ้นส่วนทางการเมือง

ผู้แต่ง

  • สัญญา เคณาภูมิ

คำสำคัญ:

กระบวนการเสริมสร้าง, อุดมการณ์แบบประชาธิปไตย, หุ้นส่วนทางการเมือง

บทคัดย่อ

อุดมการณ์ทางการเมืองเป็นปัจจัยเงื่อนไขที่มีอิทธิพลสำคัญต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยหากประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองสูงมากขึ้นเท่าใดก็ย่อมหมายถึงพัฒนาการทางการเมืองแบบประชาธิปไตยมีมากขึ้นเท่านั้น พฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองมีฐานคติมาจากการเห็นคุณค่าการเมืองตลอดจนถึงความรู้สึกเป็นเจ้าของการเมือง ซึ่งเรียกว่า “อุดมการณ์การทางการเมืองฐานคติหุ้นส่วนทางการเมือง” ดังนั้นเพื่อขับเคลื่อนอุดมคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยกับภาคประชาชนนั้นสิ่งสำคัญคือต้องสร้างเสริมอุดมการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยฐานคติหุ้นส่วนทางการเมืองซึ่งมีแนวทางดังนี้ (1) การพัฒนาปัจเจกบุคคล ได้แก่ แนวทางการจูงใจ เช่น ความตระหนักในคุณค่าของประชาธิปไตย ความตระหนักในวิถีประชาธิปไตย ความตระหนักรับผิดชอบเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความมีวินัยในตนเอง แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุน แนวทางการผลักดันหรือการกดดัน เช่น วิถีประชาหรือวิถีชาวบ้าน จารีต กฎหมาย (2) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนา โดยสถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน โรงเรียน สถาบันศาสนาสถาบันรัฐ สถาบันเอกชน (3) การออกแบบและปฏิรูปโครงสร้างและกลไกของรัฐ ได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญสาระที่เอื้อต่อวิถีประชาธิปไตย สถาบันบริหารขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ประชาธิปไตย และ สถาบันตุลาการ ตุลาการวิวัฒน์ต้องตัดสินบนพื้นฐานของหลักการทั้งหลักนิติธรรมและหลักนิติรัฐไปพร้อมๆ กัน ศาลต้องผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมอย่างแท้จริง ศาลต้องไม่ลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และ (4) การเข้าร่วมประชาคมระหว่างประเทศ การสร้างแนวทางร่วมระดับภูมิภาคเพื่อให้เกิดแรงสนับสนุนหรือหรือแรงกดดันให้การดำเนินการภายในประเทศเป็นไปในทิศทางแบบสากลจะเป็นการป้องกันกลุ่มบุคคลที่อาจจะแอบอ้างเข้าทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารทางอ้อมอย่างหนึ่งได้

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-07

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)