ฟ้อนลายขิด : นาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์เพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • นพรัตน์ บัวพัฒน์

คำสำคัญ:

ลายขิด, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, นาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์, เศรษฐกิจชุมชน, วัฒนธรรมการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

ฟ้อนลายขิด : นาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและวัฒนธรรมการท่องเที่ยว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษานาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์และส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนวัฒนธรรมการท่องเที่ยว ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลด้านเอกสารและข้อมูลภาคสนาม  ข้อมูลภาคสนามได้จากการสัมภาษณ์ผู้รู้ จำนวน 5 คน ผู้ปฏิบัติ 5 คน  และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง  นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบด้วยวิธีการแบบสามเส้า วิเคราะห์ตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ และนำเสนอผลการวิจัยในเชิงพรรณนาวิเคราะห์

         ผลการวิจัยพบว่า  การสร้างสรรค์ฟ้อนลายขิด  เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและวัฒนธรรมการท่องเที่ยวเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของภูมิปัญญาท้องถิ่นจากการจำหน่ายผ้าทอลายขิดจากการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ดผู้วิจัยจึงได้แนวคิดจากภูมิปัญญาการทอผ้าลายขิด ของชาวบ้านหนองแวง ตำบลหนองผือ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ดมาสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นเมืองขึ้นเป็นการนำเสนอกรรมวิธีการทอผ้าลายขิด โดยใช้ฝ้ายนำมาทอเป็นลายขิด ให้มีสีสันสวยงาม จากการย้อมสีที่ได้จากธรรมชาติ ลายที่นิยมทอ ได้แก่ ลายเลข 3 และลายหวายน้อย เป็นลายที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง สีที่ใช้ในการแสดงมี 8 สี ได้แก่ สีเขียว สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีส้ม สีคราม สีม่วง และสีน้ำเงิน และสีที่ไม่นิยมนำมาย้อมมี 2 สีคือ สีดำและสีน้ำตาลเพราะไม่เป็นที่นิยมของตลาด  นอกจากนี้ยังแสดงถึงประโยชน์ของผ้าลายขิดที่นิยมใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้ห่มในงานบุญประเพณีต่าง ๆ  ใช้โพกศีรษะในการทำงาน ใช้คาดเอว เป็นต้น ทั้งนี้การใช้ผ้าลายขิดยังอยู่ในวิถีชีวิตของคนอีสานในประเพณีฮีตสิบสอง คองสิบสี่ตลอดมา ผู้วิจัยจึงได้สร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองขึ้น โดยนำสไบผ้าลายขิดมาใช้ประกอบท่าฟ้อน อีกทั้งทำให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญ ความสวยงาม อันทรงคุณค่าต่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมให้คงอยู่สืบต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)