การพัฒนาแบบวัดความเป็นมิตรสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • Neenara Deesom
  • Doldao Wongtheerathron
  • Rapin Chayvimol

คำสำคัญ:

แบบวัด, ความเป็นมิตร, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบความเป็นมิตรในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อพัฒนาแบบวัดความเป็นมิตรสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา     ตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 899 คน กลุ่มที่ 1 เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) จำนวน 459 คน และกลุ่ม    ที่ 2 เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) จำนวน 440 คน โดยใช้แบบวัดความเป็นมิตร เป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกแบบวัดเป็นรายข้อ และคำนวณหาค่าความเที่ยง (Reliability) โดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α-Coefficient) ตามสูตรของครอนบาค (Cronbach) วิเคราะห์หาความตรงเชิงเนื้อหาด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ Exploratory Factor Analysis (EFA) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน Confirmatory Factor Analysis (CFA) ตรวจสอบความตรงของโมเดล การวัดจากความสอดคล้องกลมกลืนโมเดล และความตรงเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า

            1) องค์ประกอบของความเป็นมิตร มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความเป็นมิตรด้านมิตรไมตรี ด้านเอื้ออาทร ด้านยินดี และด้านสติ

            2) คุณภาพแบบวัดความเป็นมิตร แบบวัดความเป็นมิตรมีจำนวน 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีตัวแปรสังเกตได้หรือข้อคำถามในแบบวัด จำนวน 33 ข้อ มีองค์ประกอบความเป็นมิตร 3 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบด้านมิตรไมตรี ด้านเอื้ออาทร ด้านยินดี ค่าดัชนีความกลมกลืนของโมเดล  c2= 254.64, df = 240, p = .247, RMSEA = 0.012, CFI = 1.00, GFI = 0.97, c2/ df =1.06 ตอนที่ 2 องค์ประกอบความเป็นมิตรด้านสติ ปรับปรุงจากแบบประเมินสติของอรวรรณ ศิลปะกิจ (2558) มีจำนวนข้อคำถามทั้งหมด 11 ข้อ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.866 รวมแบบวัดความเป็นมิตรทั้งฉบับ มีจำนวน 44 ข้อ มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ 0.828

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)