ยุทธศาสตร์ด้านพลังงานไฟฟ้า การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ และทัศนคติของประชาชนต่อยุทธศาสตร์ ด้านพลังงานไฟฟ้า กรณีศึกษา 4 แขวงภาคใต้ของ สปป.ลาว

ผู้แต่ง

  • Khamfeng Sondaoheuang
  • Jittrakorn Po-ngam
  • Nisanart Sopapol

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์, พลังงานไฟฟ้า, กระบวนทัศน์, ทัศนคติ, 4 แขวงภาคใต้ของ สปป.ลาว

บทคัดย่อ

            บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์ด้านพลังงานของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และ 2) เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านพลังงานของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 3) เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนใน 4 แขวงภาคใต้ที่มีต่อยุทธศาสตร์ด้านพลังงานไฟฟ้าของ สปป.ลาว โดยเป็นการศึกษาเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนามโดยวิธีการสังเกตและสัมภาษณ์บุคคลกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่  ผลการศึกษาพบว่า (1) ยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นผลสืบเนื่องจากการที่ สปป.ลาว ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศโดยใช้ “นโยบายจินตนาการใหม่” (Newly Economic Mechanism – NEM) และการประกาศขับเคลื่อนนโยบายด้านพลังงานสู่การเป็น "แบตเตอรี่แห่งอาเซียน (Battery of Asian)” ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8  (ปี ค.ศ.2016-2020) (2) รัฐบาล สปป.ลาว มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านพลังงานโดยการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ แม่น้ำลำธาร รวมถึงการนำเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ เป็นต้น ขณะเดียวกันก็มุ่งแสวงหาแหล่งพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือกอื่น ๆ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการด้านพลังงานไฟฟ้าของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ และ (3) ประชาชนในพื้นที่ยังไม่เข้าใจยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนนโยบายสู่การเป็น “แบตเตอรี่แห่งอาเซียน” อย่างแท้จริง เป็นเพียงการรับรู้ว่ามีโครงการสร้างเขื่อนจะเกิดขึ้นในชุมชนเท่านั้น

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)