การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครดูแลผู้พิการโดยการมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • Duanpenporn Chaipugdee
  • Tanyarat Puchungchai

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, เสริมสร้างศักยภาพ, ผู้ดูแลผู้พิการ, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

         วัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครดูแลผู้พิการ 2) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลผู้พิการ 3) เพื่อเสนอแนะแนวนโยบาย พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครดูแลผู้พิการต่อสาธารณะ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  รูปแบบการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และกระบวนการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า

          ระยะที่ 1 ระยะพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพฯ 4 ขั้นตอนคือ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร เสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครดูแลผู้พิการ พบว่า บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีความต้องการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครดูแลผู้พิการ (2) การสร้างหลักสูตรประกอบด้วย การกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินผล (3) ทดลองใช้หลักสูตรฯ นำหลักสูตรไปทดลองใช้ วิทยากร ให้ความรู้จากศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดชัยภูมิ อบรมรวม 14 ชั่วโมง (4) ประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรฯ พบว่า ผู้ดูแลผู้พิการมีความรู้ ทักษะปฏิบัติระดับดี มีเจตคติที่ดีต่อหลักสูตรฯ ลดเวลาอบรมเพิ่มเวลาเยี่ยมบ้านผู้พิการ สถานที่จัดอบรมยืดหยุ่นตามเหมาะสม ระยะที่ 2 ระยะเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลผู้พิการ พบว่าผู้ดูแลคนพิการปฏิบัติการต่อคนพิการด้วยจิตเมตตาจิตอาสา การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กออทิสติคและสติปัญญาจังหวัดชัยภูมิ และสมาคมคนพิการจังหวัดชัยภูมิ ด้วยกระบวนการ 8 ขั้น (1) C : Community (2) C : Care ดูแลเอาใจใส่ (3) E : Especially ความเฉพาะ (4) C-Cognition ความเข้าใจ (5) A-Acting ปฏิบัติจริง (6) N-Network มีเครือข่าย (7) D-Decoration การจัดการ (8) O-outstanding ความโดดเด่น ได้กระบวนการเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลคนพิการ C-CE- CAN – DO Model ระยะที่ 3 ข้อเสนอแนวนโยบาย C-CE - CAN – DO  Model ต่อสาธารณะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)