ภาพลักษณ์ผู้หญิงสมัยใหม่ในบทเพลงลูกทุ่งของใบเตย อาร์สยาม

ผู้แต่ง

  • สันติ ทิพนา Santi Thippana

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์, ผู้หญิงสมัยใหม่, เพลงลูกทุ่ง, ใบเตย อาร์สยาม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ผู้หญิงสมัยใหม่ในบทเพลงลูกทุ่งของใบเตย อาร์สยาม โดยศึกษาจากเนื้อหาของบทเพลงลูกทุ่ง จำนวน 29 เพลง ด้วยวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพลักษณ์ผู้หญิงสมัยใหม่เชิงซ้อน (Multiple Image) เสนอภาพลักษณ์สตรีที่มีลักษณะเป็นสาวรุ่นใหม่มีความทันสมัย มีความรู้และมุมมองทางความคิดที่แตกต่าง 2) ภาพลักษณ์ผู้หญิงสมัยปัจจุบัน  (Current Image) เป็นภาพลักษณ์ผู้หญิงสมัยใหม่ มีความมั่นใจสูง แต่งตัวทันสมัยลักษณะแบบเปิดเผยเป็นสาวเซ็กซี่ 3) ภาพลักษณ์ผู้หญิงสมัยใหม่ผ่านกระจกเงา (Mirror Image) ภาพลักษณ์ผู้หญิงสมัยใหม่ที่รับอิทธิพลการแต่งกายจากโลกภายนอกเลียนแบบประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ มีแต่งกายใส่กระโปรงสั้นโชว์เรียวขา 4) ภาพลักษณ์ผู้หญิงสมัยใหม่ที่พึงปรารถนา (Wish Image) อยากมีรูปร่างหน้าตาแบบดารานักร้องนักแสดงทางโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ 5) ภาพลักษณ์ผู้หญิงสมัยใหม่ที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง (Correct and Incorrect Image) คือ ภาพลักษณ์ที่ผู้หญิงต่อว่าผู้ชายว่าเป็นผู้ชายที่ไม่จริงใจ หลังจากเสร็จจากการมีเพศสัมพันธ์แล้วก็จากไป 6) ภาพลักษณ์ผู้หญิงสมัยใหม่แบบสินค้าหรือบริการ (Product/ Service Image) เป็นภาพลักษณ์ขององค์กรโฆษณามีส่วนในการสร้างความหมายตามความคิดที่ผู้ผลิต 7) ภาพลักษณ์ผู้หญิงสมัยใหม่ในด้านการทำงานผู้หญิงสมัยใหม่ต้องทำงานเท่าเทียมกับผู้ชาย และ 8) ภาพลักษณ์ผู้หญิงสมัยใหม่ในด้านความรัก ภาพลักษณ์ผู้หญิงสมัยใหม่โดยแสดงออกถึงความรักแบบเปิดเผย ต้องการคนเอาใจใส่ และอยากมีแฟนก็บอกผ่านสื่อได้แบบไม่อายเขิน

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)