ความเป็นมาและพัฒนาการของโปงลางในบริบทวัฒนธรรมอีสาน

ผู้แต่ง

  • ศราวุธ โชติจำรัส Choatchamrat Sarawut
  • ธนภร เพ่งศรี Thanaporn Bhengsri
  • เจริญชัย ชนไพโรจน์ Jarernchai Chonparot

คำสำคัญ:

ความเป็นมา, พัฒนาการ, โปงลาง, วัฒนธรรมอีสาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและพัฒนาการของโปงลางในบริบทวัฒนธรรมอีสาน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยทุกประเภท การสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ใช้กลุ่มประชากรแบบเจาะจง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีพื้นบ้านอีสาน จำนวน 6 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติจำนวน 6 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 10 คน แล้วนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ความเป็นมาและพัฒนาการของโปงลางในบริบทวัฒนธรรมอีสาน ยุคเริ่มต้น พ.ศ. 2500-2523 สันนิษฐานว่าโปงลางมีการพัฒนามาจาก 1) เกราะ ซึ่งชาวอีสานเรียกว่า เกราะลอ ขอลอ เป็นเครื่องมือใช้เคาะไล่สัตว์ที่แขวนไว้กระท่อมปลายนา 2) เป็นเครื่องมือใช้ตีบอกสัญญาณในวัดเรียกว่า โปง 3) เป็นเครื่องให้สัญญาณที่ใช้แขวนคอสัตว์เลี้ยง วัว ควาย และ 4) หมากโปงลางโลหะที่ใช้เป็นเครื่องให้สัญญาณในขบวนค้าขายต่างถิ่น เช่น ค้าวัวต่าง และมีการพัฒนาจากโปงลางที่ใช้แขวนบนหลังวัวต่าง ต่อมา พ.ศ. 2530-2537 ในยุคที่โปงลางรุ่งเรือง ได้มีลายเพลงที่แต่งขึ้นมาประสมบรรเลงแบบรวมวงกับเครื่องดนตรีพื้นบ้านชนิดอื่น ๆ  บรรเลงประกอบการฟ้อนรำ และการบรรเลงเดี่ยว ต่อมา พ.ศ. 2538-2560 ในยุคปรับตัว มีการเปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์ โดยการนำทำนองลายโปงลางเข้ามาดัดแปลงทำเพลงและเต้นรำปราชญ์ดนตรีชาวบ้านที่ช่างสังเกตและมีปฏิภาณไหวพริบ ได้คิดประดิษฐ์และพัฒนาปรับปรุงรูปแบบโปงลางสำหรับลายเพลงที่ใช้บรรเลง โดยเลียนแบบมาจากทำนองของลายแคน ทำนองหมอลำ และลายเพลงที่จิตนาการจากภาพพจน์ธรรมชาติ จนกระทั่งมีรูปร่างท่อนไม้ร้อยต่อกันเป็นผืน จำนวนตั้งแต่ 6-15 ลูก โปงลางได้มีการพัฒนาทั้งรูปร่าง เสียง ลักษณะกลวิธีในการบรรเลง ทั้งแบบบรรเลงรวมวง บรรเลงเดี่ยว และบรรเลงร่วมสมัย พร้อมทั้งมีเสียงดังกังวาน ไพเราะอย่างที่ได้ฟังในปัจจุบัน

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)