ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • วฤนดา เผ่าศิริ Warinda Phaosiri
  • วสันต์ชัย กากแก้ว Vasancha Kakkeaw
  • ธีรวัตร ภูระธีราชรัชต์ Teerawat Purateeranrath
  • ประกอบ คุปรัตน์ Pracob Cooparat

คำสำคัญ:

ปัจจัยเชิงสาเหตุ, องค์การแห่งการเรียนรู้, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของปัจจัยเชิงสาเหตุ และองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ของรูปแบบการวัดปัจจัยเชิงสาเหตุ และองค์การแห่งการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (3) ตรวจสอบโครงสร้างเชิงเส้นของรูปแบบการวัดปัจจัยเชิงสาเหตุ และองค์การแห่งการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ (4) สร้างข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น อย่างมีสัดส่วน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.966 ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยเทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. ผลการศึกษาระดับของปัจจัยเชิงสาเหตุ และองค์การแห่งการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 1.1 ปัจจัยภายนอก พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมืองและการปกครอง อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน 1.2 ปัจจัยภายใน พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านโครงสร้างองค์กร ด้านการพัฒนาบุคคลและทีม ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ด้านวัฒนธรรมองค์กร อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ อยู่ในระดับปานกลาง 1.3 องค์กรแห่งการเรียนรู้ พบว่า ในภาพมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ด้านการมีแบบแผนความคิด อยู่ในระดับมาก ส่วน ด้านการเรียนรู้เป็นทีม ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และด้านการเป็นบุคคลที่รอบรู้ อยู่ในระดับปานกลาง
  2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ของรูปแบบการวัดปัจจัยเชิงสาเหตุ และองค์การแห่งการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ พบว่า โมเดลการวัดปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน และองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และสามารถนำไปวิเคราะห์ สมการโครงสร้างเชิงเส้นได้
  3. ผลการตรวจสอบตรวจสอบโครงสร้างเชิงเส้นของรูปแบบการวัดปัจจัยเชิงสาเหตุ และองค์การแห่งการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความสอดคล้อง กลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่คำนวณได้ คือ c2/df = 0.919, CFI = 1.00, GFI = 0.99, AGFI = 0.97, RMSEA = 0.000 และ SRMR = 0.0096 นอกจากนี้ค่า Largest Standardized Residual มีค่าเท่ากับ 1.62 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า |2.00|
  4. ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จากการสนทนากลุ่ม สรุปได้ดังต่อไปนี้ 4.1 ปัจจัยภายนอก (EXT) มีข้อเสนอเชิงนโยบายว่า ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยภายนอกด้านเทคโนโลยี (ext2) สังคม-วัฒนธรรม (ext1) เศรษฐกิจ (ext3) การเมืองและการปกครอง (ext4) เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อปัจจัยภายใน (INT) และองค์กรแห่งการเรียนรู้ (ORG) อยู่ในระดับสูง ตามลำดับ 4.2 ปัจจัยภายใน (INT) มีข้อเสนอเชิงนโยบายว่า ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยภายใน ด้านวัฒนธรรมองค์กร (int5) ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร (int4) ด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ (int1) ด้านการพัฒนาบุคคลและทีม (int3) ด้านโครงสร้างองค์กร (int2) เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ (ORG) อยู่ในระดับสูง ตามลำดับ 4.3 องค์กรแห่งการเรียนรู้ (ORG) มีข้อเสนอเชิงนโยบายว่า ควรให้ความสำคัญกับด้าน การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (org4) ด้านการเป็นบุคคลที่รอบรู้ (org5) ด้านการเรียนรู้เป็นทีม (org1) ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ (org2) ด้านการมีแบบแผนความคิด (org3) ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)