การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

วิชนีย์ ทศศะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ               


การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบและตรวจสอบ ความถูกต้อง ความเหมาะสมและประโยชน์ของรูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา       ขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1      การพัฒนารูปแบบ โดยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน พหุกรณีศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ 2 โรงเรียน และเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง 3 รอบ ซึ่งได้จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ระยะที่ 2 การตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสมและประโยชน์ของรูปแบบ  ที่พัฒนาขึ้น โดยสอบถามผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 760 คน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และระยะที่ 3 การจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่พัฒนาขึ้น ตรวจสอบความเหมาะสม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน วิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้


  1. รูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ปัจจัยที่เอื้อต่อการนิเทศภายในโรงเรียน 2) ขอบข่ายการนิเทศภายในโรงเรียน 3) กระบวนการนิเทศแบบ NPSFE และ 4) ผลของการนิเทศภายในโรงเรียน

  2. รูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีทั้งความถูกต้อง

ความเหมาะสม และเป็นประโยชน์ โดยรวมในระดับมาก ( = 4.38, 4.31, 4.42 ตามลำดับ)


  1. คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.41)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.(2545).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ
ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
กรวีร์ เกษบรรจง. (2557).ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในโรงเรียนของ
ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต): มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนของครู เพื่อพัฒนา
ศักยภาพนักเรียนที่มีแววความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์.(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต): มหาวิทยาลัยศิลปากร.
คมสันต์ ขุมกระโทก.(2552).สภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานนิเทศภายใน
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต): มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
จิรภรณ์ ส่งเสริม. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนิเทศภายในของโรงเรียน
ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 7.(การศึกษาอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต) : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เพิ่มพูล ร่มศรี. (2558). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. (วิทยานิพนธ์
การศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต): มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
มาลินี สุขสุอรรถ. (2550). การพัฒนาคู่มือการดำเนินงานเทคโนโลยีสะอาดสำหรับ
โรงพยาบาล.(วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต): มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วันชัย อยู่ตรง. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานนิเทศภายในสถานศึกษาระดับ
ประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต): มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
ศรันย์ภัทร์ อินทรรักษาทรัพย์. (2558).แนวทางพัฒนาการนิเทศภายในของโรงเรียน
ประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กำแพงเพชร เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต): มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สุจิตรา แซ่จิว. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการนิเทศภายใน
สถานศึกษากับพฤติกรรมการสอนของครูสังกัดเทศบาลในจังหวัดระยองจันทบุรีและตราด.(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต): มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Translated Thai Reference
The National Education Commission. (2002). National Education Act B.E. 2542 (1999) and Its 2ND Amendment B.E. 2545 (2002). Bangkok: Prikwarn Graphic Co., Ltd. [in Thai]
Ketbanchong, K. (2014). The Administrative Factors Affecting School Internal Supervision of Administrators under Prachuap Khiri Khan Primary Educational Service Area Office 1. (M.Ed. Thesis): Phetburi Rajabhat University. [in Thai]
Sungchai, K. (2009). The Development of Teacher Instructional Supervision Model for Developing Academic Capabilities of Science-Talented Students. (Ph.D. Thesis): Silpakorn University. [in Thai]
Khumgratok, K. (2009). State and Guidelines in the Development of Internal Supervision Administration for Basic Educational Schools under Nakhon Ratchasima Educational Service Area Office 4. (M.Ed. Thesis). St. John’s University. [in Thai]
Songserm, J. (2013). Factors Affecting the Effectiveness of Internal Supervision of Schools under Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 7. (M.Ed. Independent Study): Maha Sarakham University. [in Thai]
Romsi, P. (2015). The Development of Effective Internal Supervision Model for Schools under Roi-Et Primary Educational Service Area Office 1. (Ph.D. Thesis): Maha Sarakham Rajabhat University. [in Thai]
Suksu-ath, M. (2007). The Development of Clean Technology Operation Manual for Hospitals. (M.Sc. Thesis): Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]
Yutrong, W. (2014). The Development of Internal Supervision Administration Model for Primary Schools. (Ph.D. Thesis): North Bangkok University. [in Thai]
Intararuksasap, S. (2015). Guidelines on Internal Supervision Improvement for Small-sized Primary Schools under Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 1. (M.Ed. Thesis): Kamphaeng Phet Rajabhat University. [in Thai]
Shaejiw, S. (2014). A Study on the Relation between Internal Supervision Process and Teaching Behaviors of Teachers under the Municipalities in Rayong, Chantaburi and Trat Provinces. (M.Ed. Thesis): Rambhai Barni Rajabhat University. [in Thai]