บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษากับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Main Article Content

ไพศาล พากเพียร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษากับการมี ส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในมหาวิทยาลัย ราชภัฏอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ อาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ทุกชั้นปี จำนวน 159 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


                ผลการวิจัย พบว่า บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษากับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยภาพรวม มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการประชุมระดับมหาวิทยาลัยในเรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติด มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติด มีส่วนได้รับประโยชน์จากการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเรื่องความร่วมมือของนักศึกษา


ในมหาวิทยาลัย และมีส่วนร่วมในการรายงานความเห็นในมาตรการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้กับหน่วยงานทราบ


                แนวทางการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในมหาวิทยาลัย ราชภัฏอุบลราชธานี พบว่า ควรสร้างกลไกบูรณาการความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองกับมหาวิทยาลัย จัดทำเป็นองค์ความรู้ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในมหาวิทยาลัย จัดทำแผนงาน โครงการและกิจกรรมป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด     ควรมีการสำรวจการใช้ยาเสพติดในมหาวิทยาลัย ควรสร้างสภาวะป้องกันปัญหายาเสพติดที่เหมาะสม และประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารแก่นักศึกษาได้ตระหนักต่อปัญหา    ยาเสพติด และให้มีระบบปรึกษาด้วยกลุ่มเพื่อน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ไพศาล พากเพียร

Assistant Professor Dr. Paisarn Phakphian

            Public Administration Program, Faculty of Humanities and Social Sciences

            Ubon Ratchathani Rajabhat University

            2 Ratchtahni Rd., Muang District, Ubon Ratchathani Province 34000

            Tel.: 08-0896-7487  E-mail: [email protected]          

References

Jindatong, B. (2012). The strategy for drug abuse prevention and remedy in school. Doctor of Philosophy Program in Educational Administration Department of Educational Administration Graduate School, Silpakorn University. [in Thai]

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3).

Manakoon, D. (2007). A study of school procedure and development on drug prevention in secondary schools under Phitsanulok educational service area office 1. Master of Education Phitsanulok Rajabhat University. [in Thai]

Office of the Narcotics Control Board. (2007). Preventing and solving drug problems in schools. Bangkok: Office of the Narcotics Control Board. [in Thai]

Simmasud, L. (2005). Stated and problems of drug prevention performance at third class and the third - the fourth class construction under the Jurisdiction of Loei education service area office 2. Master of Education Program, Loei Rajabhat University. [in Thai]

Royal Thai Police. (2001). The importance of people to the problem of drug addiction. Bangkok: Royal Thai Police. [in Thai]

Srisa-ard, B. (2011). Preliminary research. Bangkok: Suviriyasanr. [in Thai