กลยุทธ์การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดบุรีรัมย์ กรณีศึกษาตำบลหูทำนบ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

นางสาวธัญญรัตน์ พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์กลยุทธ์การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดบุรีรัมย์ กรณีศึกษา ตำบลหูทำนบ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดบุรีรัมย์ กรณีศึกษา ตำบลหูทำนบ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดบุรีรัมย์ กรณีศึกษา ตำบลหูทำนบ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การวิจัยครั้งนี้มีลักษณะเชิงคุณภาพ  มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 24 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยการจัดเวทีสาธารณะและการจัดสนทนากลุ่มและวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบอุปมาน ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจต้องปลูกพืชเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับสภาพทรัพยากรของพื้นที่ มีการรวมกลุ่มกันจำหน่าย มีกลุ่มอาชีพตามพืชผลของพื้นที่ จัดตั้งและเสริมสร้างวิสาหกิจชุมชนให้พึ่งตัวเองได้ ด้านสังคมต้องสืบสานศิลปวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น ตั้งกลุ่มเฝ้าระวังการทำผิดกฎหมาย ให้ปลอดอบายมุขและยาเสพติด ด้านการเมืองต้องรวมกลุ่มเป็นกลุ่มการเมืองภาคประชาชนให้เข้มแข็ง สร้างความเชื่อมั่นและเคารพสิทธิของประชาชนตามครรลองระบอบประชาธิปไตย ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องมีการปลูกฝังให้คนในชุมชนรู้คุณค่า รักษา ต่อยอดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง สำหรับการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนนั้น ต้องสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน คือทั้งตัวแทนส่วนราชการ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ผู้นำชุมชน ตลอดทั้งประชาชน ด้วยการดำเนินการด้วยความเข้าใจกันและร่วมมือกันทุกฝ่ายด้วยการกำหนดนโยบาย แผน โครงการ / งาน แต่ละปี แต่ละส่วนอย่างชัดเจน ส่วนการเสนอแนะเกี่ยวกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ต้องร่วมกันเรียนรู้บริบททั้ง 4 ด้าน ในพื้นที่ของตนเอง หลังจากนั้นให้ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ สร้างความรัก    ความสามัคคี จัดหาทุน จัดหางบประมาณจากทั้งทางภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนกิจแต่ละด้านที่กำหนดขึ้น ให้บรรลุผลอย่างคุ้มค่า และมีประโยชน์แก่ชุมชนอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chareonwongsak, K. (2002). Creative thinking. Bangkok: Success Media. [in Thai]

Chaiyasri, C. (2009). Development tactics of community enterprise of agricultural group of Phakong village, Huaysom
sub-district, Phukradueng district, Loei province. Mater of Arts in Project Management and Evaluation. Loei: Loei
Rajabhat University. [in Thai]

Office of the National Economics and Social Development Board. (2002). The ninth national economic and social
development plan (2002-2006). Bangkok: Office of the Prime Minister. [in Thai]

_____. (2007). The tenth national economic and social development plan (2007-2011). Bangkok: Office of the Prime
Minister. [in Thai]

_____. (2012). The eleventh national economic and social development plan (2012-2016). Bangkok: Office of the
prime minister. [in Thai]

Puangngam, K. (2010). Community and local self-governance. Bangkok: Porpit printing. [in Thai]

Suttijaree, J. (2001). Public participation politics and governments people constitution. Bangkok: V.J. printing. [in Thai]

Wiraphanphong, A. (2017). Common pool Resources in community: The case of Klongladmayom community,
Bangramat, Talingchan, Bangkok. Political Science Review Journal, 4(2), pp. 222-226. [in Thai]