การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ด้านประวัติศาสตร์ชุมชนด้วยภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษาชุมชนบ้านโคกเขาพัฒนา ตำบลโคกมะม่วง

Main Article Content

Somyong Somin

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกเขาพัฒนา ตำบลโคกมะม่วง อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ 2)เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ด้วยภาษาอังกฤษสำหรับประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านโคกเขา และ 3)เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องภาษาอังกฤษสำหรับประวัติศาสตร์ชุมชนประชากรในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยสมาชิกในชุมชนบ้านโคกเขา ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกเขาพัฒนา และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาสาสมัครนักวิจัยชุมชนจำนวน 10 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 40 คนผู้นำชุมชน ผู้อาวุโส และ สมาชิกในชุมชนผู้รู้ประวัติศาสตร์ชุมชนเป็นอย่างดี จำนวน 40 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบทดสอบความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษ และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติพรรณนา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ด้านความสำคัญของการเรียนภาษาอังกฤษ พบว่า ภาษาอังกฤษมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนในโรงเรียนอยู่ระดับมากและทักษะที่มีความสำคัญที่สุดคือทักษะการพูดรองลงมาคือทักษะการฟังอยู่ระดับมากเช่นกัน

  2. ด้านปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษ พบว่า ปัญหาที่สำคัญที่สุด คือ การไม้รู้คำศัพท์อยู่ระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ปัญหาไม่สามารถนำคำศัพท์ที่เคยเรียนรู้มาแล้วนำมาใช้ได้ อยู่ระดับมาก และปัญหาไม่ทราบไวยากรณ์ อยู่ระดับมากเช่นเดียวกัน

  3. ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ระดับของความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างมีดังต่อไปนี้ 1) ความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับปานกลาง มีคะแนนอยู่ระหว่าง 21-30 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ42.5 2) ความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับอ่อน มีคะแนนอยู่ระหว่าง 11-20 คิดเป็นร้อยละ 37.5 และ 3) ความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับเก่ง มีคะแนนอยู่ระหว่าง 31-40 คนคิดเป็นร้อยละ 20.0

  4. ผลการวิจัยยังพบอีกว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการหลักสูตรที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชุมชน และสามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้ อยู่ระดับมาก รองลงมา คือ หลักสูตรที่มีเนื้อหาทั่วๆไป ซึ่งได้จากอินเตอร์เน็ต และมีเนื้อหาไม่ยากเกินไปสำหรับผู้เรียน อยู่ระดับมากเช่นเดียวกัน

  5. ด้านความพึงพอใจต่อหลักสูตร โดยภาพรวม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อรูปเล่มของหลักสูตรท้องถิ่นระดับมากเมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า ภาพประกอบสื่อความหมายตรงกับเนื้อหาในแต่ละบทเรียนมากที่สุด

 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Budken, J.& colleagues (2009). Research report. Guidelines for participatory
learning management in the teaching of English for communication: A Case Study of Patumrachwongsa
School Patumrachawongsa District Amnat Charoen Province. [in Thai]
Kanjanda, K. (2015). Research report. The problem of teaching and learning
English and the need to develop English communication skills in the 21st century by Maejo University students.
[in Thai]
Khanram, N. et al. (2016). Research reports on Study of English Communication
Problems: A Case Study of second year students. BuriramRajabhat University. [in Thai]
Ritthirat, N. &Chiramanee, T. (2015). Research reports on the English Speaking ability and Problems in Developing
English Speaking Skills of Students. Prince of Songkla University.
Sunthravanis, Ch. (1986). "Status of Local History Studies." Journal of Economics
politics. year 5 No. 3-4 (April - September 1986), pages 53-63. [in Thai]
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New
York: Harcourt, Brace & World, lnc.[in Thai]
Udomkiat, S, P. (2016). Research report on English vocabulary learning strategies of
High school students in private schoolsatPathumThani province. The 3rd
National Conference and Presentation at NakhonRatchasima College. NakhonRatchasima province.
Visuttichanon, Ch. (2014). Thesis on Participation in Conservation of Folk Wisdom.
KlongDaenSub-district, Ranot District, Songkhla Province. Hatyai University. [in Thai]