โครงการศึกษาและพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านผสมชิ้นส่วนโลหะจากเทคนิคเครื่องถมปราศจากตะกั่ว

ผู้แต่ง

  • ยศไกร ไทรทอง College of Creative Industry, Srinakharinwirot University

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน, ลวดลาย, เครื่องถม

บทคัดย่อ

        งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหา (1) บุคลิกภาพที่เหมาะสมสำหรับลวดลายเครื่องถมไทย (Thai nielloware tracery) ในแต่ละประเภท (2) ชุดสีแบบไทย (Thaitone Color) ที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพลวดลายเครื่องถมไทยในแต่ละประเภท (3) หลักการออกแบบลวดลายเครื่องถมไทยในแต่ละประเภท (4) เพื่อประเมินความพึงพอใจรูปแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านผสมชิ้นส่วนโลหะจากเทคนิคเครื่องถมปราศจากตะกั่ว ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูล 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ (1) เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามฉบับที่ 1 จากนักออกแบบในสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 100 คน ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 3 ปีขึ้นไป เพื่อเลือกบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับลวดลายเครื่องถมไทยทั้ง 5 ประเภท ช่วงที่ (2) นำบุคลิกภาพที่ได้มาสร้างแบบสอบถามฉบับที่ 2 โดยนำไปถามผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอาจารย์ และนักออกแบบจำนวน 7 ท่าน ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 10 ปีขึ้นไป เพื่อหาชุดสีแบบไทยที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพลวดลายเครื่องถมไทย ช่วงที่ (3) เก็บข้อมูลรูปแบบของลวดลายเครื่องถมไทยจากเอกสาร และเว็บไซต์ที่เชื่อถือถือได้ รวมทั้งลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ ย่านการค้า และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามประเภทของลวดลายในเครื่องถม 5 ประเภทๆ ละไม่ต่ำกว่า 10 ลวดลาย แล้วใช้หลักการออกแบบเรขศิลป์ในการวิเคราะห์องค์ประกอบและหลักการออกแบบลวดลายเครื่องถม เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ผลการวิจัยเพื่อใช้ในการออกแบบลวดลายใหม่ ช่วงที่ (4) การประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้าน จำนวน 5 ชุด โดยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอาจารย์ และนักออกแบบจำนวน 3 ท่าน ที่มีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้อง 10 ปีขึ้นไป เพื่อคัดเลือกแบบร่าง 1 ชุด เพื่อนำไปพัฒนาตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ แล้วจึงนำไปประเมินความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคจำนวน 100 คน

        ผลวิจัยพบว่า จากวัตถุประสงค์ข้อที่ (1) บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับลวดลายเครื่องถมไทย ได้แก่ (1.1) ลวดลายจากธรรมชาติและรูปเหมือนจริง ได้แก่ "ผู้สันโดษ" (Loner) (1.2) ลวดลายจากเทพเจ้า เทวดา และตัวละครในวรรณคดี ได้แก่ "ผู้ช่วยเหลือ" (Helper) (1.3) ลวดลายจากภาพสัตว์ป่าหิมพานต์และสัตว์จากเทพนิยาย ได้แก่ "นักรบ" (Warrior) (1.4) ลวดลายจากความเชื่อ ได้แก่ "ผู้วิเศษ" (Magician) และ (1.5) ลวดลายจากลายไทย ได้แก่ "เจ้าเสน่ห์" (Enchantress) จากวัตถุประสงค์ข้อที่ (2) ชุดสีไทยที่เหมาะกับบุคลิกภาพของลวดลายเครื่องถมไทย ผลวิจัยพบว่า (2.1) ลวดลายจากธรรมชาติและรูปเหมือนจริง มีทั้งหมด 14 สี แบ่งเป็น สีที่แนะนำให้ใช้อย่างยิ่ง 1 สี และสีที่แนะนำให้ใช้ได้ จำนวน 13 สี (2.2) ลวดลายจากเทพเจ้า เทวดา และตัวละครในวรรณคดี มีทั้งหมด 12 สี ซี่งเป็นสีที่แนะนำให้ใช้ได้ทั้งหมด (2.3) ลวดลายจากภาพสัตว์ป่าหิมพานต์ และสัตว์จากเทพนิยาย มีทั้งหมด 19 สี แบ่งเป็น สีที่แนะนำให้ใช้อย่างยิ่ง 3 สี และสีที่แนะนำให้ใช้ได้ จำนวน 16 สี (2.4) ลวดลายจากความเชื่อ มีทั้งหมด 8 สี แบ่งเป็น สีที่แนะนำให้ใช้อย่างยิ่ง 1 สี และสีที่แนะนำให้ใช้ได้ จำนวน 7 สี (2.5) ลวดลายจากลายไทย มีทั้งหมด 18 สี แบ่งเป็น สีที่แนะนำให้ใช้อย่างยิ่ง 2 สี และสีที่แนะนำให้ใช้ได้ จำนวน 16 สี จากวัตถุประสงค์ข้อที่ (3) หลักการออกแบบลวดลายเครื่องถมไทยในแต่ละประเภท ผลวิจัยพบว่า ลวดลายเครื่องถมไทยมีองค์ประกอบและหลักการออกแบบลวดลายทางเรขศิลป์เหมือนกันทุกประเภท ยกเว้นลวดลายจากลายไทยที่มีความแตกต่างจากลวดลายประเภทอื่นในบางประเด็น และจากวัตถุประสงค์ข้อที่ (4) ผลการประเมินความพึงพอใจรูปแบบผลิตภัณฑ์ โดยกลุ่มผู้บริโภคจำนวน 100 คน พบว่า กลุ่มผู้บริโภคให้ความคิดระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งในประเด็นด้านผลิตภัณฑ์สามารถสร้างความจดจำได้ดี มีค่าเฉลี่ยที่ 4.23 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ได้รับ

References

ขจีพร วงศ์ปรีดี. (2557). จากงานวิจัย... สู่ชุมชน... “ยาถมดำปราศจากตะกั่ว”. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พรนลัท เรืองสมวงศ์, กรกลด คำสุข, ยศไกร ไทรทอง. (2558, กรกฎาคม-ธันวาคม). โครงการการศึกษาและพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ แอนิเมชั่น 2 มิติ เพื่อเตรียมความพร้อมของเยาวชนไทย ในการเข้าสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน. วารสาร
สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 33: 99-108.
พรเพ็ญ พันธุ์ประดิษฐ์. (2546). การศึกษากระบวนการถ่ายทอดศิลปหัตถกรรมเครื่องถมจังหวัด นครศรีธรรมราช.
ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเอกศิลปศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ยศไกร ไทรทอง. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบการออกแบบเรขศิลป์ระหว่างวัยทวีนผู้ชายและวัยทวีนผู้หญิง จากแนวความคิด
คุณค่าหลัก 6 ประการของวัยทวีน โดย มาร์ติน ลินด์สตรอม. ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แน่งน้อย ปัญจพรรค์. (2534). เครื่องเงินในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: เริงรมย์.
ศูนย์บันดาลไทย กระทรวงวัฒนธรรม. (2558). ไทยโทน เสน่ห์ไทยเพิ่มมูลค่าธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ.
สมาคมเครื่องถมและเครื่องเงินไทย. (2525). เครื่องถมและเครื่องเงินไทย. กรุงเทพมหานคร: ธีระการพิมพ์.
สมศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2538). ศึกษาเครื่องถมเมืองนครศรีธรรมราช. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.
สาขาวิชาไทยศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อริชัย อรรคอุดม. (2552). การพัฒนาแนวคิดและมาตรวัดต้นแบบตราสินค้าเพื่อประยุกต์ใช้เชิง
การสื่อสารการตลาด. ปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Teicu, Ada. (2014). Top Five Interior Design Styles: Which One Describes Yours?. Retrieved
December 5, 2017, from https://freshome.com/2014/06/17/top-five-interior-design-styles-one- describes-infographic/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28