ดุริยวรรณกรรมเพลงตับเรื่องอิเหนาจากต้นฉบับแผ่นเสียงเก่าของวังบ้านหม้อ พ.ศ. 2450

ผู้แต่ง

  • กันต์ อัควเสนา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พูนพิศ อมาตยกุล วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สนอง คลังพระศรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ณัฐชยา นัจจนาวากุล วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ดนตรีไทย / ดุริยวรรณกรรม / วังบ้านหม้อ / แผ่นเสียง / ตับอิเหนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ใช้หลักการศึกษาทางดุริยวรรณกรรม ทำการศึกษาเพลงตับเรื่องอิเหนา ตอนระตูหมันหยาได้รับสาส์นท้าวกุเรปันจนถึงอิเหนาจากนางจินตะหรา ขับร้องโดยหม่อมคร้าม แม่แป้น และแม่แจ๋ว บันทึกเสียง
เมื่อปี พ.ศ. 2450 ในรูปแบบแผ่นเสียงตรา Odeon มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและผลงานทางดนตรีของ
วังบ้านหม้อ ศึกษาลักษณะทางดนตรีของเพลงตับเรื่องอิเหนา และศึกษาบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง

            ผลการวิจัยพบว่าวังบ้านหม้อมีหน้าที่ราชการหลายด้าน ทั้งงานกรมม้า กรมช้าง กระทรวงโยธา ฯลฯ
และที่เด่นมากคือกรมมหรสพ เจริญด้านการดนตรีและละครสูงสุดในสมัยรัชกาลที่ 5  มีศิลปินสำคัญ อาทิ
หลวงเสนาะดุริยางค์ (ทองดี) พระประดิษฐไพเราะ (ตาด) ขุนเสนาะดุริยางค์ (แช่ม) หม่อมเจริญ หม่อมมาลัย ฯลฯ
วังนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ มีหน้าที่จัดแสดงคอนเสิร์ตขนาดใหญ่รับแขกเมือง และเป็นสถานที่บันทึกแผ่นเสียงไว้เป็นจำนวนมาก

            ด้านลักษณะทางดนตรี พบว่าใช้บทร้องฉบับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็งบรรเลงรับ
มีบทเพลง 23 เพลง บทเจรจา 2 บท บางเพลงมีการใช้ซ้ำ รวมแล้วจัดลำดับการบรรเลงไว้ 34 ลำดับ เลือกใช้เพลงละครในและหน้าพาทย์เป็นหลัก เช่น ช้าปี่ใน โอ้ปี่ใน โอ้ร่าย ลงสรงมอญ และเพลงสองชั้นอื่น ๆ โดยมากใช้บันไดเสียงซอลและเป็นเพลงสำเนียงไทยด้านบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง พบว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบริบททางการเมืองการปกครอง วิถีชีวิต ค่านิยม เศรษฐกิจ ตลอดจนสังคมและวัฒนธรรมการดนตรี


References

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2546). ละครฟ้อนรำ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
เทเวศร์วงศ์วิวัฒน์, เจ้าพระยา. (2500). ข้อราชการในกรมมหาดเล็ก. พระนคร: โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก.
เทศนาฉลองอายุ เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์. (2466). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิศาลบรรณนิติ์.
บุญเหลือ เทพยสุวรรณ. (2514). ความสำเร็จและความล้มเหลว. พระนคร: วัชรินทร์การพิมพ์.
ปรัชญา เปี่ยมการุณ. (2559, มกราคม-มิถุนายน). พัฒนาการภาพยนตร์รักของไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2545-2555. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 17(2): 130-144. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2559, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/jica.
พระนามพระองค์เจ้า วังหลวงแลวังน่า ทั้ง 5 รัชกาล. (2453). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
พูนพิศ อมาตยกุล. (ม.ป.ป.). เจ้าจอมมารดาศิลา ในรัชกาลที่ 2 [Card Screen]. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2558, จาก http://mulinet3.li.mahidol.ac.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=dig&lang=0&db=
MUSIC&pat=code&cat=aut&skin=u&lpp=16&catop=&scid=zzz&ref=A:@781&nx=1.com.royin.mobiledict.
เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านาย ฉบับมีพระรูป. (2538). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชชิ่ง.
อนุมานราชธน, พระยา. (ม.ป.ป.). เชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
Anuman Rajadhon, Phraya. (n.d.). Race Language and Culture. Bangkok: National Buddhism Printing.
Boonlua Debyasuvarn. (1971). Achievement and Failure. Phra Nakhon: Watcharin Publishing.
Damrong Rajanubab, His Royal Highness Krom Phraya. (2003). Dance Drama. Bangkok: Matichon Publishing.
His/Her Royal Highness Names of the Royal and Front Palaces of 5 Kings. (1910). n.p.: n.p.
Life Celebrating Edification Chao Phraya Thewet Wongwiwat. (1923). Bangkok: Phisan Bunnanit Publishing.
Poonpit Amatayakul. (n.d.). King’s Concubine Sila of the 2nd King [Card Screen]. Received May 7th 2015, from http://mulinet3.li.mahidol.ac.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=dig&lang=0&db=MUSIC&pat=co
de&cat=aut&skin=u&lpp=16&catop=&scid=zzz&ref=A:@781&nx=1.com.royin.mobiledict.
Prachaya Piemkaroon. (2016, January - June). Development of Thai Love Film During 2002-2012. Institute of Culture and Arts Journal. 17(2): 130 - 144. Retrieved November 29th, 2016, from https://www.tci-thaijo.org/index.php/jica.
Royal Family Name Appointment Pictures Included Version. (1995). Bangkok: Amarin Printing and Publishing.
Thewet Wongwiwat, Chao Phraya. (1957). Official Regulations in Royal Guard Regiment. Phra Nakhon: Royal Thai Survey Department Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-21