การขึ้นลอยในการแสดงโขน

ผู้แต่ง

  • เฉลิมชัย ภิรมย์รักษ์ วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การขึ้นลอย, การแสดงโขน

บทคัดย่อ

           งานวิจัยเรื่องการขึ้นลอยในการแสดงโขน เป็นการแสดงความสามารถในการต่อตัวขึ้นเหยียบบริเวณลำตัวของคู่ต่อสู้และยกลำตัวให้ลอยขึ้นจากพื้น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การขึ้นลอยในการแสดงนาฏยศิลป์และการขึ้นลอยในการแสดงโขนโดยการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย การสัมภาษณ์ ตามแนวความคิดและการเรียนรู้จากประสบการณ์

           ผลการวิจัยพบว่า การขึ้นลอยในการแสดงโขน เป็นกระบวนการที่สำคัญซึ่งผู้แสดง ตัวพระ ตัวยักษ์ ตัวลิง และตัวนาง ได้แสดงความสามารถในการต่อตัวและแสดงท่าทางด้านนาฏยศิลป์ไทย โดยผู้แสดงต้องมีความรู้ ทักษะและความชำนาญ ในการทรงตัว การถ่ายน้ำหนักและการจัดวางโครงสร้างท่ารำตามรูปแบบนาฏยศิลป์ไทย  โดยนำแนวคิดจากงานด้านวรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรมและนาฏกรรม ศึกษาจากวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์และการแสดงโขนในปัจจุบัน การขึ้นลอยของตัวละครในการแสดงโขนและให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง   เพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้ชม การขึ้นลอยแบบคู่และการขึ้นลอยแบบกลุ่ม  สิ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วยเหตุผลทางด้านขนบจารีต เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ อาวุธ บุคลิกของตัวละครและสุนทรียศาสตร์ทางด้าน          นาฏยศิลป์ไทย

            การขึ้นลอยในการแสดงโขนถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญ ทั้งนี้เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ศาสตร์สาขาอื่นๆเข้ากับสาขานาฏยศิลป์ไทยและเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ในเชิงวิชาการ

References

คึกฤทธิ์ ปราโมช. (2541). ลักษณะไทย. กรุเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
ธนิต อยู่โพธิ์. (2508). โขน. กรุงเทพมหานคร : ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์.
__________. (2516). ศิลปะละครรำหรือคู่มือนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพมหานคร : ศิวพรการพิมพ์.
นิยะดา เหล่าสุนทร. (2548). หอไตรกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส. กรุงเทพมหานคร : บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
จำกัด.
ประยูร อุรุชาฏะ. (2526). พจนานุกรมศิลป. เมืองโบราณ กรุเทพมหานคร : กรุงสยามการพิมพ์.
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. (2549). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่10. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
ศิลปาบรรณาคาร.
ไพฑูรย์ เข้มแข็ง. (2537). จารีตการฝึกหัดและการแสดงโขนตัวพระราม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โพธ์สัวสดิ์ แสงสว่าง. (2525). มวยไทย. มหาสารคาม : ภาควิชาพลศึกษาคณะวิชาครุศาสตร์ วิทยาลัยครูมหาสารคาม.
มโน พิสุทธิรัตนานนท์. (2547). สุนทรียวิจักษณ์ในจิตกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2536). สถาบันไทยคดีศึกษานาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. (2548). เส้นสายลายไทยชุดภาพจับจากศิลปะไทย. กรุงเทพมหานคร : Mild Publishing.
สุนทร กายประจักษ์. (2532). กีฬากายกรรมโลดโผน. กรุงเทพมหานคร : บริษัทเจเนรัสบุ๊คส์เซนเตอร์ จำกัด.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2553). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุเทพมหานคร : โรงพิมพ์ห้องภาพสุวรรณ.
เสาวณิต วิงวอน. (2554). วรรณคดีการละคร. ภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : เอเชีย ดิจิตอลการ
พิมพ์ จำกัด.
เสถียร ชังเกตุ. (2537). หนังใหญ่ ศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
อาคม สายาคม. (2554). รวมงานนิพนธ์. ฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร. กรุงเทพมหานคร : รุ่งศิลป์การพิมพ์.
Kenneth Laws with Arleen sugano. (2008). Physics and the Art of Dance. Oxford university press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28