การพัฒนาชุดกิจกรรมนาฏศิลป์บำบัดสำหรับเด็กดาวน์ซินโดรมที่มีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วย

ผู้แต่ง

  • ระวิวรรณ วรรณวิไชย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์บำบัด, สมาธิสั้น, ดาวน์ซินโดรม, เด็กที่มีความต้องการพิเศษ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาแนวทางสร้างชุดกิจกรรมนาฏศิลป์บำบัดสำหรับเด็กดาวน์ซินโดรมที่มีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วย และ 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมนาฏศิลป์บำบัดสำหรับเด็กดาวน์ซินโดรมที่มีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วย
           กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กดาวน์ซินโดรมที่มีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วย คัดเลือกโดยกรณีศึกษาแบบเจาะจง จำนวน 5 คนที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ มีใบรับรองแพทย์แสดงภาวะสมาธิสั้น และได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง
           ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการสร้างชุดกิจกรรมนาฏศิลป์บำบัดสำหรับเด็กดาวน์ซินโดรมที่มีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วยได้นำหลักการทางนาฏศิลป์บำบัด และหลักการเรียนรู้ของเด็กดาวน์ซินโดรมที่มีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วยมาบูรณาการร่วมกันเพื่อออกแบบกิจกรรมนาฏศิลป์บำบัดที่ช่วยปรับพฤติกรรมการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก ในด้านทักษะสื่อสาร ด้านทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ด้านความสามารถในการเล่นหรือทำงาน ด้านการควบคุมตนเอง และด้านพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง โดยผู้วิจัยออกแบบชุดกิจกรรมประกอบด้วยกิจกรรมจำนวน 8 กิจกรรม 2) ผลของการใช้ชุดกิจกรรมนาฏศิลป์บำบัดสำหรับเด็กดาวน์ซินโดรมที่มีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วยพบว่า เด็กดาวน์ซินโดรมที่มีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วยมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่ำกว่าก่อนใช้กิจกรรมนาฏศิลป์บำบัดอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าการใช้ชุดกิจกรรมนาฏศิลป์บำบัดสำหรับเด็กดาวน์ซินโดรมที่มีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วยสามารถทำให้พฤติกรรมที่มาเหมาะสมของเด็กสมาธิสั้นลดลง

References

ชาญวิทย์ เงินศรีตระกูล. (2545). Common Behavioral and Emotional Ploblem in Pediatrics. ในกุมารเวชศาสตร์
: การดูแลรักษาในปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
พิณธร ปรัชญานุสรณ์. (2548). ผลของนาฏกรรมบำบัดต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ
ในชมรมผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวช
ศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิศิษฐ กฤตยาณวัช. (2546). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกาปีที่ 2
ที่มีสมาธิสั้น เรื่องความคล้าย โดยใช้วิธีการสอนแบบปฏิบัติการกับการสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฏฐ์วดี สุขธยารักษ์. (2553). การใช้กิจกรรมศิลปะเพื่อปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียน
ระดับชั้นประถมศึกษา ช่วงอายุ 8 – 12 ปี ที่มีสมาธิสั้น. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาศิลปศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประวิทย์ ฤทธิบูลย์, ระวิวรรณ วรรณวิไชย และจิตรา ดุษฎีเมธา. (2559, มกราคม–มิถุนายน). การศึกษา
การใช้นาฏกรรมบำบัดต่อความเครียดของผู้ต้องขังชายแรกเข้าในทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จังหวัด
ปทุมธานี. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 17(2): 18.
ทวีพร วรรณา. (2552). การศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ในระดับอนุบาล
โดยการใช้กิจกรรมการเล่นแบบบูรณาการและการเสริมแรงทางบวก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ระวิวรรณ วรรณวิไชย. (2554).นาฏยศิลป์เพื่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. วิทยานิพนธ์
ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
วรวีร์ พูลสวัสดิ์. (2549). การสำรวจภาวะสมาธิสั้นในนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
ศรียา นิยมธรรม. (2548). นาฏบำบัดใช้ได้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 แหล่งที่มา https://www.dmh.go.th/sty_libnews/news
/view.asp?id=1666.
อลิสา วัชรสินธุ. (2546). จิตเวชเด็ก. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Connor, Margaret. (2001).Recreational folk dance: A multicultural exercise component in
Healthy ageing. Australian: Australian Occupational Therapy. Retrieved March 25,2016,
from https://www.researchgate.net/publication/229873183.

Dane Redman. (2007). The Effectiveness of Dance/Movement Therapy as a Treatment for
Students in a Public Alternative School Diagnosed with Attention Deficit Hyperactivity
Disoder : A Pilot Study. Retrieved March25,2016, from
https://ejournal.manipal.edu/mjnhs/docs/Volume%201_Issue%201/04%20APS.PDF
Erna Gronlund, Barbro Renck and Jenny Weibull. (2005). Dance/Movement Therapy as an
Alternative Treatment for Young Boys Diagnosed as ADHD : A Pilot Study. American
Journal of Dance Therapy Vol.27, No.2, Retrieved March25,2016, from
https://link.springer.com/article/10.1007%2Fs10465-005-9000-1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28