การวิเคราะห์กระบวนการในการทำละคร ของกลุ่มทำละครเพื่อการศึกษา

ผู้แต่ง

  • กฤศณัฏฐ์ ดิลกศิริธนภัทร์ สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ละครเพื่อการศึกษา, กิจกรรมละครเพื่อการศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัย ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจกลุ่มละครเพื่อการศึกษา นำมาวิเคราะห์รูปแบบ ขั้นตอน และกระบวนการในการทำละคร ของกลุ่มทำละครเพื่อการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ผลจากการสำรวจและทำการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ละครเพื่อการศึกษา ก่อให้เกิดผลดีต่อการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องราวที่เป็นประเด็นทางสังคม มีความต้องการที่จะสื่อสารให้กับทุกคนได้รับทราบ เตรียมตัว รับมือ ร่วมกันหาทางออก มีส่วนร่วมในการคิดหาวิธีแก้ไขปัญหา ในส่วนของกระบวนการมีส่วนในการเสริมสร้างความสามัคคี การมีส่วนร่วมและร่วมมือกันทำงานเป็นกลุ่ม กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือสมาชิก สามารถสื่อสารซึ่งกันและกัน ร่วมมือกันอธิบายปัญหาและหาแนวทางการแก้ไข

 

References

เครือข่ายละครกรุงเทพ. (2558). เครือข่ายละครกรุงเทพ. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ พฤศจิกายน 2559. เข้าถึงได้จาก :
https://www.bangkoktheatrefestival.org/about
กรมสามัญศึกษา. (2544). การพัฒนาและการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและท้องถิ่นเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้. กรมสามัญศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
ดุจดาว วัฒนปกรณ์. (2559, สิงหาคม). คณะละคร บี ฟลอร์ เธียเตอร์ (B-Floor Theatre). สัมภาษณ์โดย กฤศณัฏฐ์ ดิลกศิริธนภัทร์.
ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่. กรุงเทพฯ
พฤหัส พหลกุลบุตร. (2558). ละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง จากสื่อละครสร้างปัญญาสู่กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง.
(ออนไลน์). เผยแพร่เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2558. เข้าถึงเมื่อ พฤศจิกายน 2559. เข้าถึงได้จาก:
https://www.facebook.com/notes/guay-makhampom

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28