การศึกษาความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนผ่านกูเกิลคลาสรูม รายวิชาประวัติดนตรีตะวันตก

ผู้แต่ง

  • นัฏฐิกา สุนทรธนผล สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, กูเกิลคลาสรูม

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตต่อการเรียนการสอนผ่าน Google Classroom รายวิชาประวัติดนตรีตะวันตก ของหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา (กศ.บ.) และหลักสูตรศิลปกรรม ศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตชั้นปีที่ 1 หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา (กศ.บ.) และหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาประวัติดนตรีตะวันตก (รหัสวิชา ดตศ 115, ดรค 106) ปีการศึกษา 2560 จำนวน 65 คน ผู้วิจัยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะการเจาะจง (Purposive Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนผ่าน Google Classroom รายวิชาประวัติดนตรีตะวันตก ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 สอบถามความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนผ่าน Google Classroom ส่วนที่ 2 สอบถามความพึงพอใจของนิสิตด้านความปลอดภัยในการใช้งานของระบบ ส่วนที่ 3 สอบถามความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อข้อดีของ Google Classroom ส่วนที่ 4 สอบถามความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อข้อเสียของ Google Classroom และส่วนที่ 5 สอบถามความคิดเห็นเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะ การศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนผ่าน Google Classroom รายวิชาประวัติดนตรีตะวันตก

        ผลการวิจัยพบว่า นิสิตมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนผ่าน Google Classroom ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .513  ด้านการจัดการเรียนการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .719 หัวข้อที่นิสิตมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยวิธีนี้ ทำให้นิสิตรู้จักเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.27 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .975 ด้านความปลอดภัยในการใช้งานของระบบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .684 หัวข้อที่นิสิตมีความพึงพอใจต่อการกำหนดความเป็นตัวตน อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.24 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .684 ด้านข้อดีของ Google Classroom ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .614 หัวข้อที่นิสิตมีระดับความพึงพอใจต่อความสามารถใช้ Google Classroom ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์ สามารถใช้งานได้จากสมาร์ทโฟนและ Tablet pc อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.46 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .772 และด้านข้อเสียของ Google Classroom ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.01 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.10 หัวข้อที่นิสิตมีระดับความคิดเห็นต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ดี ทำให้เข้าระบบยาก อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.32 ส่วนข้อเสนอแนะเพิ่มเติมพบว่า นิสิตสามารถส่งงานได้ง่าย สะดวก และได้ทราบถึงงานต่างๆ  อยากให้อาจารย์นำ Google Classroom สอนในรุ่นต่อๆ ไป เพราะมีประโยชน์ที่นิสิตจะกลับมาทบทวน วิชาอื่นๆ สามารถนำไปใช้ได้ และชอบวิธีการสอน โดยใช้เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต แต่อยากให้เพิ่มเติมเนื้อหานอกสไลด์มากกว่านี้

References

ฉันท์ทิพย์ สีลิตธรรมและพรเพ็ญ เอกเอี่ยมวัฒนกุล. (2559, มกราคม – มิถุนายน). การศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยผ่านกูเกิลคลาสรูมของนักศึกษาวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 1(1): 20-25.
นภาพร สิงหทัต. (2548). วิธีวิทยาการวิจัย. นนทบุรี: พี.พี. กิจเจริญ จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2558). ครูอาชีวะแห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: แมคเอ็ดดูเคชั่น.
ไพศาล หวังพานิช. (2523). การวัดและการประเมินผลทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์การจัดทำยุทธศาสตร์ การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. ม.ป.พ.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2546). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.
สุนีย์ ศีลพิพัฒน์ และคณะ. (2551). การเรียนการสอนผ่าระบบอิเล็กทรอนิกส์ชุดวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศโดยใช้ T5 Model ในกลุ่มนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนชุดวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศในภาคเรียน 1 ปีการศึกษา2550. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสมา สอนประสม. (2559). การศึกษาความพึงพอใจในการใช้คลาสรูมในวิชาฟิสิกส์1สำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต วันที่ 29 เมษายน 2559. ปทุมธานี: ม.ป.พ. อัดสำเนา.
อริสสา สะอาดนัก. (2561). Google Apps for Education เทคโนโลยีพัฒนาการจัดการการเรียนการสอน. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://www.info.ms.su.ac.th/KM$/ GoogleApps.pdf.
อุทัยพรรณ สุดใจ. (2544). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จังหวัดชลบุรี. ปริญญานิพนธ์ ศป.ม. (สังคมวิทยาประยุกต์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.
Ebel, R.L. & Frisbie, D.A. (1991). Essentials of Education Measurement. USA: Prentice Hall.
Google Inc. (2014). Google Apps for Education. Retrieved April 6,2017, from https://www.google.com/enterprise/apps/education.
Hopkins, K.D., Stanley, J.C. & Hopkins, B.R. (1990). Educational and Psychological Measurement and Evaluation. New Jersey: Prentice Hall.
MacArthur, C.A. (2009). Reflections on Research on Writing and Technology for Struggling Writers. Learning Disabilities Research & Practice. 24 (2): 93-103.
Mullins, L.J. (1985). Management and Organization Behavior. London: Pitman Company.
Shelley, M. W. (1975). Responding to Social Change. Pennsylvania: Dowden, Hutchison Press.Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28