พุทธทาสภิกขุ: พุทธปรัชญาเมธีไทย

ผู้แต่ง

  • พกุล แองเกอร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับยกย่องในฐานะพุทธ ปรัชญาเมธีไทยซึ่งเป็นฝ่ายปรัชญาตะวันออก คำวิจารณ์ของท่านพุทธทาสภิกขุต่อวิชาปรัชญาในเชิงไม่เห็นด้วยว่ามีเนื้อหาที่อุดมไปด้วยการตั้งคำถามต่อคำอธิบายหลักความรู้และความจริง ซึ่งไม่นำไปสู่การพ้นทุกข์ จึงเป็นคำวิจารณ์ต่อฝ่ายปรัชญาตะวันตก เนื้อหาของบทความนี้เป็นการทดลองนำความเห็นของนักวิชาการท่านหนึ่งที่เสนอการให้ความหมายใหม่ แก่“ปรัชญา” ว่า หมายถึงกระบวนการของการโต้เถียง และการค้นคว้าด้วยเหตุผลเพื่อแก้ปัญหาในเชิงมโนทัศน์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อทิศทางของชุมชนนั้นๆ ความหมายเช่นนี้ให้ความสำคัญแก่ตรรกศาสตร์มากขึ้น และให้ความหมาย“นักปรัชญา” ว่าหมายถึง ผู้สร้างจิตวิญญาณการวิพากษ์วิจารณ์ให้แก่สังคม ความหมายของคำว่าปรัชญาและนักปรัชญาดังกล่าว เป็นการกำหนดขอบเขตของวิชาปรัชญาที่จะไม่ให้น้ำหนักไปที่ความขัดแย้งของนักปรัชญาเรื่องความจริงที่แน่นอนคืออะไร แต่ให้น้ำหนักแก่กระบวนการของการโต้เถียงด้วยเหตุผลและผลกระทบของการถกเถียงที่จะต้องเป็นประโยชน์แก่สังคม ความหมายของคำว่าปรัชญาและนักปรัชญาเป็นการแก้ไขปัญหาของเนื้อหาวิชาปรัชญาที่ท่านพุทธทาสภิกขุสะท้อนไว้ และสนับสนุนบทบาทนักปรัชญาของท่านพุทธทาสภิกขุ ในฐานะพุทธปรัชญาเมธีไทย

คำสำคัญ : การวิพากษ์วิจารณ์ ตรรกศาสตร์ พุทธทาสภิกขุ พุทธปรัชญาเมธีไทย

 Abstract

Buddhadasa Bhikkhu was revered as a Thai Buddhist philosopher who specialized in Eastern philosophy. Buddhadasa Bhikkhu was critical of the field of philosophy for its questioning of explanations of core knowledge and truth, which is not applied to release from suffering. This is the criticism against Western philosophy. The objective of this article is to discuss the view of one particular academic who claims that philosophy is defined as a process of argumentation and research through the use of reason to conceptually solve problems that are of extreme importance for the direction of the community. As a result, the significance is placed on logic and the definition of a philosopher is someone who creates a spirit of criticism for society. Both meanings limit the extent of philosophical content which will not mainly focus on the conflict about absolute truth among philosophers. Instead, a process of rational argumentation and the results of the argumentation which benefit the society will be heavily focused. The above definitions of philosophy and philosopher can help solve the problem of philosophical content which Buddhadasa Bhikkhu once mentioned and support his role as a Thai Buddhist philosopher.

Keywords : Buddhadasa Bhikkhu, criticism, logic, Thai buddhist philosopher

Author Biography

พกุล แองเกอร์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คณะมนุษยศาสตร์

Downloads