ปิ่นปักผมเมืองแจ๋ม : ภูมิปัญญาท้องถิ่นของช่างพื้นบ้านในการทำเครื่องประดับศีรษะ NORTHERN THAI STYLE HAIRPIN: THE LOCAL WISDOM OF A HAIRPIN MAKER

ผู้แต่ง

  • ภาณุพงศ์ จงชานสิทโธ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้นำเสนอเรื่อง “ปิ่นปักผมเมืองแจ๋ม” หรือ “ปิ่นเมืองแจ่ม” ซึ่งเป็นเครื่องประดับขนาดเล็ก ใช้ประดับตกแต่งศีรษะในวิถีชีวิตของผู้คนอำเภอแม่แจ่มและผู้คนในเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของงานหัตถกรรมที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของช่างพื้นบ้านในชุมชนท้องถิ่นชนบทห่างไกลของจังหวัดเชียงใหม่ ในประเด็นเกี่ยวกับความสำคัญของปิ่นปักผมที่มีต่อวิถีชีวิตของผู้คนในล้านนาและเชียงใหม่ วัสดุที่ใช้ทำปิ่น ลักษณะ การทำปิ่น ประโยชน์ใช้สอยของปิ่น การนำปิ่นไปใช้ประโยชน์ และการวิเคราะห์ลักษณะของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความเด่นชัด ซึ่งประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ 1) ภูมิปัญญาในการเชื่อมชิ้นงาน 2) ภูมิปัญญาในการสลักลวดลาย และ 3) ภูมิปัญญาในการทำวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปิ่นปักผมเมืองแจ่มในเชิงอนุรักษ์ เพื่อให้เกิดแนวทางในการอนุรักษ์สิ่งที่เป็นมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ที่ทำปิ่นปักผมคือช่างพื้นบ้าน ซึ่งมีเพียงคนเดียวเท่านั้น ถึงแม้ว่าปิ่นปักผมเมืองแจ่มนิยมทำจากโลหะทองเหลือง ซึ่งเป็นโลหะที่มีคุณค่าด้อยกว่าโลหะเงินและทองคำ แต่คุณค่าของการทำปิ่นปักผมเมืองแจ่มมิได้ปรากฏอยู่ที่เนื้อวัสดุ หากแต่ปรากฏอยู่ที่คุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นของช่างพื้นบ้านในการทำอย่างแท้จริง รวมทั้งสะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่น ความประณีต ความเพียรพยายาม การถ่ายทอดจิตวิญญาณของการทำชิ้นงานด้วยมือที่ละชิ้นอย่างมีคุณค่า และมีประโยชน์ใช้สอยควบคู่กับความสวยงาม หากพิจารณาในส่วนของการสืบทอดความรู้ พบว่ามีผู้สืบทอดการทำปิ่นปักผมอย่างจริงจัง เพียง 1 รุ่น และ 1 คนเท่านั้น คือนางบัวจันทร์ ณิปุณะ อายุ 47 ปี บุตรสาวของนายก้อนแก้ว ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้หากไม่ปรากฏผู้สืบทอดต่อจากรุ่นนี้ หรือไม่มีการจัดเก็บข้อมูลภูมิปัญญาด้านนี้ไว้อย่างเป็นระบบและรูปธรรม อาจส่งผลให้การทำปิ่นปักผมเมืองแจ่มสูญหายได้ ปัจจุบันผู้คนนำปิ่นปักผมเมืองแจ่มประดับศีรษะทั้งในวิถีชีวิตประจำวัน ในโอกาสสำคัญต่างๆ ที่จัดขึ้นตามประเพณีนิยม และประยุกต์ใช้เป็นของตกแต่งบ้านให้สวยงาม

คำสำคัญ: ปิ่นปักผม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ช่างพื้นบ้าน เครื่องประดับ

Abstract

This study presents the value and significance of the northern Thai style hairpin. This small handcrafted accessory is used to fix people’s hair, but it is also a symbol of local wisdom, and it contains rich information about the way of life of people in Mae Jam district and Chiang Mai province in northern Thailand. This study focuses on the value and significance of this handcraft on the way of life of the Lanna people (who are from the north of Thailand), the materials, the processes and usage, and the analysis of distinctive characteristics of local wisdom associated with craftsmanship.These characteristics are joint connection, crafting, and tools and materials. The hairpin is made of brass, which is not as strong as silver or gold. However, its value does not depend on materials; the true value of this hairpin lies in the importance of local wisdom. The handmade hairpin reflects determination, neatness, willingness, and the transfer of identity. At the same time, the hairpin is also useful and beautiful. At present, it is used daily and on special occasions, and it is even used for home decoration. The study makes suggestions about the hairpin and the preservation of the local wisdom while there is only one hairpin maker, who is a local craftsman, Mr. Konkaew. The study found that there is only one inheritor of this craft, Mrs. Buachan Nepuna, who is Mr. Konkaew’s daughter. She, as the sole inheritor, is 47 years old. We might lose this artifact in a near future if there is no systematic information collection.

Keywords : hairpin, local wisdom, local hairpin maker, Accessory

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-02-10