การบริหารจัดการวงดนตรีลูกทุ่งในประเทศไทย กรณีศึกษาวงดนตรีลูกทุ่ง บุญศรี รัตนัง, นกน้อย อุไรพร, อาภาพร นครสวรรค์, เอกชัย ศรีวิชัย

ผู้แต่ง

  • วิระ บำรุงศรี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

              การบริหารจัดการวงดนตรีลูกทุ่งในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีความมุ่งหมายของการวิจัยคือ  1) เพื่อศึกษาประวัติ 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารและการจัดการ พบว่า การบริหารจัดการวงดนตรีลูกทุ่งในประเทศไทย ศิลปินทุกท่านมีปัจจัยต่างๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานไปในทางเดียวกันคือเป็นผู้มีใจรักในการขับร้องเพลงลูกทุ่ง และเป็นผู้ มีความสามารถเฉพาะตนที่เป็นจุดสนใจในการดึงดูดให้ผู้ชมมีความชื่นชมที่แตกต่างกัน บุญศรี รัตนัง ผสมผสานวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนาและการขับร้องลูกทุ่งที่มีรูปแบบเฉพาะตน นกน้อย อุไรพร ผู้มีความสามารถในศิลปะพื้นบ้านอีสาน สร้างสรรค์ผลงานโดดเด่นด้วยเสียงร้องที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน อาภาพร นครสวรรค์ พลิกผันตนเองจากธุรกิจส่วนตัวมาสู่การเป็นนักร้องลูกทุ่งที่โดดเด่นด้วยเพลงที่สนุกสนานและมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เอกชัย ศรีวิชัย ผู้มีความสามารถโดดเด่นด้วยการสร้างสรรค์ศิลปะพื้นบ้านภาคใต้กับการขับร้องเพลงลูกทุ่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน

              วิธีการบริหารและการจัดการมีวิธีการบริหารแบบ 4 M ดังนี้คือ 1. ด้านบุคลากร 1) คัดเลือกจากการชักชวน   2) การรับสมัคร 2. ด้านการบริหารการเงิน มีวิธีการบริหารจัดการโดยใช้หลักการบริหารในรูปแบบของบริษัท และหลักการบริการโดยมีอำนาจเด็จขาดอยู่ที่ศิลปินเจ้าของวงดนตรี 3. กระบวนการบริหารจัดการอุปกรณ์ เครื่องมือ และ  4. การบริหารจัดการภายในวงดนตรีทุกวง เป็นการกระจายอำนาจในการควบคุมดูแล โดยศิลปินเจ้าของวงดนตรีจะเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งการต่างๆ ผ่านการประชุม ลงมติ และถ่ายทอดสู่บุคลากรต่างๆ ของวงดนตรีลูกทุ่ง

 

คำสำคัญ: การบริหาร, การบริหารจัดการดนตรี, วงดนตรีลูกทุ่ง

 

ABSTRACT

              The study of “Management of Luk Tung Musical Bands in Thailand: Case Study of Boonsri Ratanung, Noknoi Uraiporn, Apaporn Nakornsawan and Eakachai Sriwichai Luk Tung Musical Band” is a qualitative research. It aims to 1) study the history of Luk Tung musical bands, and 2) examine its management methods of Luk Tung musical bands.       

              The study revealed that the Management of Luk Tung Musical Bands in Thailand Case Study of Boonsri Ratanung, Noknoi Uraiporn, Apaporn Nakornsawan and Eakachai Sriwichai Luk Tung Musical Band run by lead singers who have got many talents to organize their own performances and attracted lots of audience. Their talents, creativity, and passion have long been influenced to a large number of Luk Tung fan. Each individual has his or her own unique approaches to music. Some can connect Luk Tung music style to their regions. For example, Boonsri Ratanung has linked Lanna music style with Luk Tung and created his unique songs. Noknoi Uraiporn who is a talented singer in Northeastern (I-san), has created her unique performance with her powerful local voice. Apaporn Nakornsawan has made her performance more attractive by demonstrating outstanding dancing in Luk Tung style. Eakachai Sriwichai has connected his music more attractive by connecting between the Luk Tung music styles with Thai southern style.

              Management methods of Luk Tung Musical Bands have been used the 4 Managements model.    1) Man__ the owner of the bands recruited members by job qualification. 2) Money__the owner of the bands tried to find the budget. 3) Materials__the owner of the bands provided the musical instruments, materials related to the performance. 4) Management__the owner of the bands coordinated scheduled the events, communicated to the customers etc. Some owners of the bands delegated their works to their bands’ members.

 

Keywords: Management, Administration Manages of Music, Luk Tung Musical Band

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-02-05