โครงการอนุรักษ์มรดกทางด้านสถาปัตยกรรมและปรับปรุงภูมิทัศน์ของชุมชนในพื้นที่ริมฝั่งคลองแสนแสบ: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านครัว THE ARCHITECTURAL HERITAGE CONSERVATION AND THE LANDSCAPE RENOVATION IN THE COMMUNITY ALONG SANSAB CANAL:A CASE STUDY OF BANKRUA COMMUNITY

ผู้แต่ง

  • วิภาวี อนุพันธ์พิศิษฐ์
  • มณี พนิชการ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • เสนีย์ เวชพัฒน์พงษ์
  • เสนีย์ สุวรรณดี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์โครงการเพื่อ ศึกษาแนวทางการพัฒนาและการปรับปรุงสถาปัตยกรรม งานศิลปกรรม และภูมิทัศน์บริเวณพื้นที่ริมคลองแสนแสบบริเวณชุมชนบ้านครัวที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ชุมชนนี้เป็นชุมชนริมคลองแสนแสบที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานร่วมกับการพัฒนาของกรุงเทพฯ ชุมชนได้เติบโตขึ้นควบคู่กับการขยายตัวของเมืองโดยที่ชาวชุมชนยังคงรักษาอัตลักษณ์ไว้ได้ ภายใต้ปัจจัยที่สำคัญได้แก่ 1.นโยบายการพัฒนาของทางราชการและกฎหมาย 2. การเติบโตและการขยายตัวของเมือง 3. การเติบโตของชุมชน อย่างไรก็ตาม การพัฒนาทั้ง 3 ส่วนดังกล่าวเกิดขึ้นโดยขาดปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนในประเด็นต่างๆ ทั้งทางกายภาพ และ สังคม ในการปรับปรุงภูมิทัศน์ชุมชนจึงต้องศึกษาประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องในภาพรวมและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาในลักษณะของการบูรณาการ เพื่อให้เกิดแนวทางการพัฒนาชุมชนที่สัมพันธ์กับเมืองรอบนอก และเปิดโอกาสให้สังคมได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชน โดยที่ไม่กระทบต่อความเป็นส่วนตัวของชุมชน มีกระบวนการศึกษาที่สำคัญดังนี้ 1. รวบรวมและวิเคราะห์องค์ความรู้ ในประเด็นที่เกี่ยวกับงานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และภูมิทัศน์ตลอดจนการใช้พื้นที่ริมคลองแสนแสบ บริเวณชุมชนบ้านครัว 2. จัดทำฐานข้อมูลทางด้านกายภาพของพื้นที่ริมฝั่งคลองในประเด็นของการใช้ที่ดิน ภูมิทัศน์ งานสถาปัตยกรรม และงานศิลปกรรม 3. เสนอแนวทางในการอนุรักษ์มรดกทางด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และภูมิทัศน์ริมคลองแสนแสบ นำเสนอผ่านการออกแบบร่างและแนวทาง (guideline) การวางผังบริเวณเพื่อการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน ผลการศึกษาพบว่า ในการอนุรักษ์มรดกทางด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และ ภูมิทัศน์ของชุมชนริมฝั่งคลองแสนแสบ บริเวณชุมชนบ้านครัวนั้น ควรวางแผนอนุรักษ์พื้นที่บริเวณอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ควบคู่ไปกับการปรับปรุงภูมิทัศน์ของทางเดินริมคลอง และปรับปรุงพื้นที่โล่งสำหรับประกอบกิจกรรมส่วนกลางที่มีอยู่ในชุมชนให้มีความสวยงามและมีการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเสนอเป็นแนวทาง (Guideline) เพื่อใช้ในการพัฒนาในงานวิจัยขั้นตอนต่อไป

คำสำคัญ : การพัฒนาและปรับปรุง, สถาปัตยกรรม, ศิลปกรรม, ภูมิทัศน์, พื้นที่ริมคลองแสนแสบ, ชุมชนบ้านครัว

Abstract

The main objective of the research is to study the development and renovation of the Sansab waterside area of Bankrua community in terms of the architecture, art and the landscape according to the community requirement. The selected communities have expanded along with the city while maintaining their cultural identity. The main factors of the communities’ growth are 1. The Government policies and laws 2. Bangkok urban expansion 3. The community expansion However, those 3 factors have been developed in the lack of mutual relationship. The impacts have affected the communities’ life in physical and social aspect. To design and renovate the community landscape, the related context should be studied in a holistic way and integrated development approach should be created. The research result will be the approach for communities’ development which will encourage the relationship between communities and the urban society. The tourists should have more opportunity to learn about the history and cultures of the communities by not disturb the communities’ daily life. The research process is 1. Collect and analyze the knowledge about art, architecture, landscape and land use of the Sansab waterside area of Bankrua community. 2. Manipulate the physical database for the Sansab waterside area emphasizing on the context of art, architecture, landscape and land use of Bankrua community. 3. Propose the guideline for each community to conserve particularly their architectural heritage, art, landscape and land use. The study reveals that to conserve the architecture, art and landscape of the Sansab waterside communities, the architectural heritage conservation plan and the landscape renovation plan should be operated together. The design approach will be proposed as a design guideline for the development in the next phase of the research.

Keywords : Development and renovation, architecture, art, landscape, Sansab waterside area, Bankrua community

Author Biography

วิภาวี อนุพันธ์พิศิษฐ์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads