การศึกษาเพลงไทยเดิมสำหรับกีต้าร์คลาสสิคของ วรเทพ รัตนาอัมพวัลย์

ผู้แต่ง

  • ตวัน รักแผน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เพลงไทยเดิมสำหรับการบรรเลงด้วยกีต้าร์คลาสสิคของวรเทพ รัตนาอัมพวัลย์ วิธีการศึกษาใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายคือ วรเทพ รัตนาอัมพวัลย์ ซึ่งเป็นผู้ที่เรียบเรียงเพลง        และบันทึกเสียง เพลงนกเขาขะแมร์ ในอัลบั้มกีต้าร์ลายไทย 2 โดยใช้การสอบถามและแบบสัมภาษณ์ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

            ผลการวิจัยพบว่า บทเพลงนกเขาขะแมร์นั้น มีการเรียบเรียงเพลงด้วยวิธีการอันหลากหลาย ซึ่งแปลกใหม่และมีความแตกต่างจากเพลงไทยเดิมในแบบฉบับทั่วไป จำแนกออกเป็น 4 ประเด็นคือ 1) ทำนอง ช่วงเสียงและการเลือกใช้บันใดเสียง พบว่ามีการดำเนินทำนองแบบ เพลงร้อง (Song Form) ช่วงเสียงปรากฏพิสัย (Range) เป็นคู่ 25 เมเจอร์ (3 ช่วงคู่แปดกับสองเสียงครึ่ง) ซึ่งเป็นช่วงเสียงที่เหมาะสมกับกีต้าร์คลาสสิค และเลือกเรียบเรียงเพลงในบันใดเสียง A เมเจอร์ ซึ่งสามารถใช้การบรรเลงสายเปิด (Open String) ได้หลายจุดทำให้ง่ายต่อการบรรเลง 2) จังหวะ ในเพลงนกเขาขะแมร์ใช้อัตราจังหวะ 4/4 และไม่มีการเปลี่ยนอัตราจังหวะ แต่มีการสอดแทรกดนตรีจังหวะ Tango 3) เสียงประสาน จำแนกได้เป็นคอร์ดต่างๆจำนวนทั้งสิ้น 10 คอร์ด ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นคอร์ดในบันใดเสียง มีเพียง 2 คอร์ดที่เป็นคอร์ดโครมาติก แต่สร้างความแปลกใหม่ในการรับฟังให้บทเพลง 4) สีสันเสียงและเทคนิคเฉพาะ พบหลายจุด สามารถจำแนกเป็นเทคนิคหลักๆ ได้ 8 ชนิดคือ การใช้โน้ตประดับ (Grace note)  การใช้สำเนียงของดนตรี Tango การยืดจังหวะ (Fermata)   การทำArtificial Harmonic (Art.Harm) การอุดสาย (Pizzicato) การใช้เทคนิคกรีดนิ้ว (Rasguado) การเคาะสาย (Hammer on) การดีดกวาด (Sweep Picking) ซึ่งเป็นเทคนิคเฉพาะของกีต้าร์คลาสสิค เทคนิคและวิธีการเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียบเรียงเพลงอื่นๆ ได้

Downloads