ผ้าตีนจกเมืองน่าน

ผู้แต่ง

  • อรรถพงษ์ ประดิษฐพงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาการจัดการความรู้ผ้าตีนจกเมืองน่าน พบว่าปัจจุบันวัฒนธรรมการทอและใช้สอยผ้าของ ชาวน่านเปลี่ยนแปลงไป ทำให้รูปแบบผ้าตีนจกเมืองน่านดั้งเดิมเริ่มสูญหาย เหตุนี้จึงต้องรวบรวมความรู้ ภูมิปัญญา และเสนอแนวทางการจัดการความรู้ผ้าตีนจกเมืองน่าน เพื่อให้ความรู้ และภูมิปัญญาดั้งเดิมคืนมา ใช้วิธีเปรียบเทียบข้อมูลส่วนประกอบจากวัตถุพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ ประเภท ผ้าตีนจกเมืองน่าน ที่ทอและใช้สอย ก่อน พ.ศ. 2401-2500 จำนวน 40 ผืน และนำการจัดการความรู้มาใช้เพื่อเผยแพร่ความรู้ผ้าตีนจกเมืองน่านผ่านเอกสารเผยแพร่ความรู้ให้กลุ่มเป้าหมายช่างทอผ้าบ้านม่วงใหม่ อ.ภูเพียง จ.น่าน จำนวน 19 คน ที่ทอผ้าใช้ไม่ต่ำกว่า 10 ปี
ผลการศึกษาพบว่า ผ้าตีนจกเมืองน่านที่ใช้ในการศึกษามีรูปแบบร่วมกันทางโครงสร้าง วัสดุ เทคนิค ลาย สี การเย็บตะเข็บ และจำนวนผ้าที่เย็บ ซึ่งจำแนกข้อมูลได้ตามช่วงระยะเวลาการทอและการใช้สอยผ้า 4 ช่วง พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้านรูปแบบผ้าตีนจกเมืองน่าน และแหล่งที่พบใน อ.เมือง อ.ท่าวังผา อ.ภูเพียง อ.เวียงสา อ.นาน้อย และ อ.นาหมื่น กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 73.68 ที่ไม่มีความรู้เรื่องผ้าตีนจกเมืองน่าน ต้องการให้มีการจัดการความรู้ และเรียนรู้ผ่านเอกสารเผยแพร่ความรู้ เมื่อนำเอกสารเผยแพร่ความรู้เรื่องผ้าตีนจกเมืองน่านไปใช้พบว่าเป็นเอกสารที่รวบรวมข้อมูลได้ละเอียด เข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้เพื่อการอนุรักษ์และสืบสาน ภูมิปัญญาได้ โดยมีความพึงพอใจในเอกสารเผยแพร่ความรู้เรื่องผ้าตีนจกเมืองน่านในระดับมากที่สุด ( = 4.47)

Downloads