การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในแนวคิด เบื้องหน้าเบื้องหลัง

ผู้แต่ง

  • ธนะพัฒน์ พัฒน์กุลพิศาล คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เบื้องหน้าเบื้องหลัง, นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย, การสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงและหาแนวคิดในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในแนวคิด เบื้องหน้าเบื้องหลัง โดยใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารตำรา สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับงานวิจัย สื่อสารสนเทศ สำรวจข้อมูลภาคสนาม การสัมมนา สังเกตการณ์ และเกณฑ์มาตรฐานศิลปิน ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทดลอง แก้ไขและสรุปผล

           จากการวิจัยพบว่างานสร้างสรรค์ได้ผ่านการวิเคราะห์ เพี่อตอบคำถามการวิจัยและอภิปรายผลตามแนวคิดสำคัญ 5 ประเด็น 1) แนวคิดเบื้องหน้าเบื้องหลัง (Front and back) 2) ความคิดสร้างสรรค์ 3) ความหลากหลายในการแสดง 4) การใช้ทฤษฎีและแนวคิดโพสโมเดิร์น(Post-modern) 5) การใช้สัญลักษณ์เพื่อสื่อสารการแสดง

            การจัดการแสดงผลงานชิ้นนี้มี 2 วันมีผู้เข้าชมงานจำนวน 323 คน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนาฏยศิลป์ อาจารย์ นิสิต นักเรียนและบุคคลทั่วไป จากแบบสำรวจความคิดเห็น พบว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจแต่ประเด็นสำคัญที่ความนำมาอภิปรายคือการออกแบบสถานที่ ยังสื่อความหมายได้ไม่เด่นชัดดั้งนั้นผู้วิจัยจะนำไปเป็นข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 

           การวิจัยครั้งนี้สามารถตอบคำถามตรงตามแนวคิดของงานวิจัยสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในแนวคิดเบื้องหน้าเบื้องหลังทุกประการดังนั้นผลงานชิ้นนี้จะเป็นข้อมูลในการสร้างนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในอนาคตต่อไป งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตเรื่องการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในแนวคิด เบื้องหน้าเบื้องหลัง

References

ธนะพัฒน์ พัฒน์กุลพิศาล. (2558). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในแนวคิด เบื้องหน้าเบ้องหลัง. วิทยานิพนธ์ ปริญญา
ดุษฎีบัณฑิต.สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นราพงษ์ จรัสศรี. (2548). ประวัตินาฏยศิลป์ตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นราพงษ์ จรัสศรี. ศาสตราจารย์ ประจำภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์
วันที่ 20 กันยายน 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28