เดี่ยวซออู้เพลงกราวใน ทางหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) กรณีศึกษาครูจีรพล เพชรสม

ผู้แต่ง

  • สมภพ เขียวมณี วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

คำสำคัญ:

เดี่ยวซออู้, เพลงกราวใน, หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน), จีรพล เพชรสม

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและผลงานด้านดนตรีของหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น  ดูรยะชีวิน) เพื่อศึกษาประวัติและผลงานด้านดนตรีของครูจีรพล  เพชรสม เพื่อเปรียบเทียบทำนองเพลงเดี่ยวซออู้กับโครงสร้างทำนองหลักของเพลงกราวใน สองชั้น เพื่อศึกษาการใช้กลวิธีพิเศษต่าง ๆ และวิธีการดำเนินทำนองของเดี่ยวซออู้เพลงกราวใน ทางหลวงไพเราะเสียงซอ        (อุ่น ดูรยะชีวิน) ผู้วิจัยได้แบ่งการศึกษาออกเป็น ๓ ประเด็น คือ ๑.วิเคราะห์รูปแบบทำนองเพลง ๒.วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทำนองหลักกับทางเดี่ยว ๓.วิเคราะห์กลวิธีพิเศษต่างๆ และการดำเนินทำนองเพลง โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ

        ผลการวิจัยพบว่า หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น  ดูรยะชีวิน) เป็นผู้ที่มีปฏิภาณไหวพริบและมีความเชี่ยวชาญ  ด้านเครื่องสายไทย ในที่นี้ขอกล่าวถึงครูจีรพล  เพชรสม ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น  ดูรยะชีวิน)  ที่มีความเชี่ยวชาญในการบรรเลงเครื่องสายไทย อีกทั้งท่านมีผลงานด้านวิชาการและการบรรเลงดนตรีที่เป็นที่ยอมรับ ผลการเปรียบเทียบความสัมพันธ์โครงสร้างของทำนองหลักกับทำนองทางเดี่ยว พบว่า ๑. รูปแบบของทำนองเพลง มีลูกโยน ๖ แห่งและมีทำนองเชื่อมระหว่างลูกโยน        เนื้อ ทำนอง ๒ ทำนอง และทำนองจบ ๑ ทำนอง ๒. ทางเดี่ยวที่แปรทำนองมาจากทำนองหลัก แบ่งได้เป็น ๒ แบบ คือ ๑. แบบที่มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกัน ๒. แบบที่มีความแตกต่างกับทำนองหลักอย่างมาก โดยยึดเฉพาะเสียงลูกตกไว้เท่านั้น เสียงลูกตกของแต่ละลูกโยน คือ เสียงโด เร ที มี ลา และฟา  มีการใช้ ๓ บันไดเสียง คือ บันไดเสียงโด เร และซอล กลวิธีพิเศษต่าง ๆ ที่ใช้จะมีทั้งหมด ๑๕ วิธี คือ การพรมปิด การพรมเปิด      การพรมจาก การสะบัดคันชัก การสะบัดนิ้ว การครั่นนิ้ว การย้อยจังหวะ การขยี้นิ้ว การครั่นคันชัก การควงนิ้ว การโหนเสียง การลากเสียงยาว การรัวคันชัก การประนิ้ว และการเปลี่ยนตำแหน่งเสียงและตำแหน่งของนิ้ว ๓. จังหวะที่ใช้เป็นการบรรเลงแบบเข้าจังหวะสลับกับการลอยจังหวะใช้วิธีการดำเนินทำนอง ๗ วิธี คือ ทำนองกรอ ทำนองเก็บ การซ้ำทำนอง การทอนประโยค การยืนเสียงเดียว การถอน และการทอด การเดี่ยวซออู้ “เพลงกราวใน” ทางหลวงไพเราะเสียงซอ      (อุ่น ดูรยะชีวิน) นี้แสดงออกถึงภูมิปัญญาทางด้านศาสตร์และศิลป์ ตลอดจนมีกลเม็ดเด็ดพราย วิธีการบรรเลง ทางเพลงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สมควรได้รับการสืบทอดไว้เป็นมรดกของชาติสืบไป

References

กฤษณุ ชูดี เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, สมภพ เขียวมณี เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน
2556.
คณะกรรมการอำนวยการจัดงาน 120 ปีชาตกาล หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน). (2555). สิบสองทศวรรษวาร
สานเสียงไทย ไพเราะเสียงซอ. ม.ป.ท.
จีรพล เพชรสม เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, สมภพ เขียวมณี เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่
3 พฤษภาคม 2556.
ชนัสถ์นันท์ ประกายสันติสุข. (2552). วิเคราะห์เดี่ยวซอด้วงเพลงกราวใน ทางครูแสวง อภัยวงศ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลป
ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บรรเลง พระยาชัย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, สมภพ เขียวมณี เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี
จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2556.
ปทุมทิพย์ กาวิล. (2548). วิเคราะห์เดี่ยวซออู้เพลงกราวในทางครูย้อย เกิดมงคล.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
ดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราโมทย์ เทยงตรง. (2557). ปัจจัยทส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมทเกยวข้องกับดนตรีไทยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา กลุ่ม
โรงเรียนรัฐบาล จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ ปีที่ 16 ฉบับที่ 1(31) : 152, 157.
เพลงกราวใน เถา. (2519). อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี). กรุงเทพฯ:
ม.ป.พ. มนตรี ตราโมท และวิเชียร กุลตัณฑ์. (2523). ฟังและเข้าใจเพลงไทย. กรุงเทพฯ: ไทยเขษม.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัตินักดนตรีและนักร้อง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ทีฟิล์ม จำกัด.
สมภพ เขียวมณี. (2555). การวิเคราะห์เดยวซออู้เพลงกราวในทางครูละเมียด จิตตเสวี,วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชา
ดุริยางคศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางคศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
อุมาพร เปลี่ยนสมัย. (2549). วิเคราะห์เดี่ยวซอด้วงเพลงกราวใน ทางครูปลั่ง วนเขจร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28