การพัฒนากิจกรรมการเคลื่อนไหวบำบัด เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการทรงตัวในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • วิสาขา แซ่อุ้ย

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเคลื่อนไหวบำบัด / ความสามารถด้านการทรงตัว / ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเคลื่อนไหวบำบัด เพื่อ ส่งเสริมความสามารถด้านการทรงตัวในผู้สูงอายุ 2) ศึกษาผลการทรงตัวก่อนและหลังทำกิจกรรมการเคลื่อนไหว บำบัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-69 ปี จำนวน 20 คน ไม่มีภาวะสุขภาพตามที่ผู้วิจัยกำหนด  ทำกิจกรรมจำนวน 7 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 55 นาที โดยแบ่งเวลาในการทำกิจกรรมออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่  ช่วงกายบริหาร 15 นาที ช่วงกิจกรรม 30 นาที และช่วงผ่อนคลายร่างกาย 10 นาที   การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเคลื่อนไหวบำบัด เพื่อ ส่งเสริมความสามารถด้านการทรงตัวในผู้สูงอายุ 2) ศึกษาผลการทรงตัวก่อนและหลังทำกิจกรรมการเคลื่อนไหว บำบัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-69 ปี จำนวน 20 คน ไม่มีภาวะสุขภาพตามที่ผู้วิจัยกำหนด  ทำกิจกรรมจำนวน 7 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 55 นาที โดยแบ่งเวลาในการทำกิจกรรมออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่  ช่วงกายบริหาร 15 นาที ช่วงกิจกรรม 30 นาที และช่วงผ่อนคลายร่างกาย 10 นาที   ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้วิจัยได้พัฒนากิจกรรมการเคลื่อนไหวบำบัดที่บูรณาการระหว่างกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย ศิลปะละครในเรื่องการใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ และการใช้ดนตรีประกอบไว้ในกิจกรรม กิจกรรมแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. กิจกรรมช่วงกายบริหาร 2. กิจกรรมการเคลื่อนไหวบำบัด 3. กิจกรรมช่วงผ่อนคลายร่างกาย  2) การทดสอบสมมติฐานด้วย Paired-Sample T-Test พบว่า ผลการทรงตัวก่อนการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวบำบัดน้อยกว่าผลการทรงตัวหลังทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 สรุปได้ว่า ผู้สูงอายุมีความสามารถในการทรงตัวดีขึ้นหลังเข้าร่วมกิจกรรมการเคลื่อนไหวบำบัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-15