ความเครียดและผลกระทบต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในหน่วยงาน ด้านศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

ผู้แต่ง

  • สุรชัย ทุหมัด สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ความเครียดในการทำงาน,ผลการปฏิบัติงาน,พนักงานในองค์การด้านศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเครียดในการทำงานของพนักงาน 2) ศึกษาผลกระทบความเครียดจากการทำงานต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานสายสนับสนุนวิชาการที่สังกัดหน่วยงานที่มีพันธกิจหลักเกี่ยวข้องกับสังคมวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ         แห่งหนึ่ง จำนวน 200 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และสถิติที่ใช้        ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง

          ผลการวิจัย พบว่า 1.ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการทำงาน เรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) ด้านระบบบริหารขององค์กรไม่เอื้อต่อความก้าวหน้า ส่งผลต่อความเครียดในระดับปานกลาง 2) ด้านภาระการประเมินตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา ส่งผลต่อความเครียดในระดับปานกลาง 3) ด้านความไม่ชัดเจนในบทบาทหน้าที่ภายในองค์การ ส่งผลต่อความเครียดในระดับปานกลาง 4) ด้านการได้รับมอบหมายงานที่ไม่ตรงตามความสามารถ ส่งผลต่อความเครียดในระดับน้อย 5) ด้านสัมพันธภาพที่ไม่ดีในการทำงาน ส่งผลต่อความเครียดในระดับน้อย 2.ความเครียดในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง และไม่ส่งผลกระทบต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน งานวิจัยชิ้นนี้ได้ค้นพบข้อมูลเชิงประจักษ์ของแบบจำลองเส้นทางความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดและผลการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การด้านศิลปวัฒนธรรม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการจัดการพฤติกรรมองค์การให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้

References

กัญนิฐ์ แซ่ว่อง และลัดดาวรรณ ณ ระนอง.(2558).ปัจจัยด้านการทำงานของอาจารย์ในการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชครินทร์.วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ.8(2):174-187.
Kunyanid Saewong Laddawan Na Ranon.(2015). Factors Affecting the Stress in Work Performance of Instructors in Princess of Naradhiwas University.STOU Education Journal.8(2):174-187.
กาญจนา วิเชียรประดิษฐ์ และคณะ.(2556).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐ.ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2. 582-593.นนทบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา.
Kanjana Vichianpradit, Dr.Tanongsak Yingratanasuk and Dr.Srirat Lormpong.(2013).Factors Related To Occupational Stress among Registered Nurses In Autonomous University Hospitals.National Graduate Study Conferrence 2nd. 582-593.Nonthaburi:Burabha University.
จําลอง ดิษยวณิช และพริ้มเพรา ดิษยวนิช.(2545).ความเครียดและสรีรวิทยาของความเครียด. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย.47(3):3-24.
Chumlong Disayawanich and Primprow Disayawanich.(2002).Stress and Body of Stress.The Psychiatric Association of Thailand.47(3):3-24.
เจษฎา คูงามมาก.(2555).ความเครียดในการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐ. ปริญญานิพนธ์ วท.ม.(สถิติประยุกต์).กรุงเทพฯ:สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.ถ่ายเอกสาร.
Jessada Koo-ngammak.(2012).Work Stress of Instructors in State Universities.Unpublished master’s thesis(Applied Statistic).Bangkok:National Institute of Development Administration. Copy.
เจษฎา คูงามมาก และพาชิตชนัต ศิริพาณิช.(2557).ความเครียดในการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐ.วารสารพัฒนบริหารศาสตร์.54(1)259-285.
Jessada Koo-ngammak and Pachitjanut Siripanich.(2014).Work Stress of Instructors in State Univer-sities.NIDA Development Journal.54(1)259-285.
ชาลี ไตรจันทร์.(2547).ความตั้งใจจะลาออกและการลาออกจากองค์กรของบุคคล:การหาสาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์กร.ปริญญานิพนธ์ รป.ม.(รัฐประศาสนศาสตร์).สงขลา:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ถ่ายเอกสาร.
Charlee Traijan.(2004).Intention to leave and resignation of employees : Factor searching effect burnout job satisfation and organization commitment.Unpublished master’s independent study(Public Administration).Songkla: Prince of Songkla University Copy.
ขวัญฤทัย ศรีชัยสันติกุล.(2548).ปัจจัยในการทำงาน ความเชื่ออำนาจควบคุม ความเครียด และผลการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลนครนนทบุรี.ปริญญานิพนธ์ วท.ม.(จิตวิทยาอุตสาหกรรม).กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.ถ่ายเอกสาร.
Khuwanrutai Srichaisantikul.(2005).Working Factors, Belief in Control Power, Stress Job performance in Maniciple Office of Nonthaburi Province.Unpublished master’s thesis (Industrial and Organizational Psychology).Bangkok: Kasetsart University.Copy.
พูลพงศ์ สุขสว่าง.(2556).โมเดลสมการโครงสร้าง.กรุงเทพฯ:วัฒนาพานิช.
Poonpong Suksawang.(2013).Structural Equation Modeling.Bangkok:Wattana Phanich.
_____________.(2557).หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.8(2):136-145.
_____________.(2014).The Basics of Structural Equation Modeling.Princess of Naradhiwas University Journal.8(2):136-145.
ธรณินทร์ กองสุข และคณะ(2548).ความเครียดของคนไทย:การศึกษาระดับชาติ ปี 2546 ในการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 4. 79-80.กรุงเทพฯ:กรมสุขภาพจิต.
Thoranin Kongsuk et. al.(2005).Stress of Thai:National Study 2003.National Mental Health Conferrence 4nd. 79-80.Bangkok:Department of Mental Health.
วิทญา ตันอารีย์.(2551).ความเครียดจากการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.สารนิพนธ์ วท.ม.(สาธารณสุข).เชียงใหม่:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.ถ่ายเอกสาร.
Wittaya Tanaree.(2005).Working stress of Chiangmai Rajabhat University's Officer.Unpublished master’s independent study(Public Health).Chiangmai:Chiangmai University.Copy.
สำราญ มีแจ้ง.(2557).สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัย ทฤษฎีและปฎิบัติ.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Samran Mejang.(2014).Advanced Statistic : Theory and Practice.Bangkok:Chulalongkorn University.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.(2558).เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี2558-2561.สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559,จาก www.edpex.org.
Office of the Higher Education Commission.(2015).Criteria of Educational Quality for Exellent Operation 2015-2018.Access in 20 December 2016,from www.edpex.org.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2558).ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย.สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2559,จาก http://mental healthcut.blogspot.com.
National Statistical Office.(2015).Problem of Mental Heath of Thai People.Access in 15 December 2016,from http://mental healthcut.blogspot.com.
สมศักดิ์ วังเอี่ยมเสริมสุข.(2554).การเปรียบเทียบความแตกต่างของปัยจัยด้านงานที่ส่งผลต่อความเครียดของพนักงานรัฐวิสาหกิจ:กรณีศึกษา บริษัท กสท โทรคมนาคมจำกัด(มหาชน) สำนักงานหลักสี่และสำนักงานบางรัก.สารนิพนธ์ บธ.ม.(การประกอบการ).กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยศิลปากร.ถ่ายเอกสาร.
Somsak Wangeansernsuk.(2011).The study of comparison of the factors effecting the stress and stress coping behavior in operations of state enterprise employees : a case study of the employee of the cat telecom public company limited (PCL), Laksi office and Bangrak office.Unpublished master’s independent study(Bussiness Administration).Bangkok:Silpakorn University.Copy.
อังคณา จัตตามาศ และพิมพ์ปวีณ์ มะณีวงค์.(2558).การพยากรณ์สถานการณ์การพบผู้ป่วยทางด้านจิตเวชในผู้สูงอายุเขตพื้นที่เฝ้าระวังผู้ป่วยของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.4(2):93.
Aungkana Jattamart and Pimpavee Maneewong.(2015). Prediction of situation in the elderly psychiatric patients of monitoring zone in Hua Hin district, Prachaubkirikhan.RMUTTO Journal.4(2):93.
อังศินันท์ อิทรกำแหง.(2551).การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและการเผชิญความเครียดของ คนไทย.วารสารสถาบันพฤติกรรมศาสตร์.14(1):135-150.
Ungsinun Intarakamhang.(2008).Research Synthesis The Concerning The Stress and Coping of Thai People. Journal of Behavioral Science Research Institute.14(1):135-150.
อนันตศักดิ์ พันธ์พุฒ และคณะ.(2559).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อม.วารสารพยาบาลสาธารณสุข.30(1):63-64.
Anantasak Phanput et al.(2016).Factors Related to Job Strain among Workers in Bleaching, Dying, Printing and Finishing Enterprise.Journal of Public Health Nursing.30(1):63-64.
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย.(2545).การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช.กรุงเทพฯ.ด่านสุธาการพิมพ์.
Oraphan Lueboonthawatchai.(2002).Mental Health and psychiatry Nursing.Bangkok:Darnsutha.
Allexander T.Mohr and Jonas F.Pick(2007).Role conflict,General Management Job Satisfaction and Stress and The Performance of IJVs.EUROPEAN Management Journal.25(1):25-35.
Bollen, K.A.(1986).Sample size and Bentler and Bonett's nonnormed fit index.Psychometrika.51(3):375 -377.
Cooper,Cary L.;Dewe,Philip J. and O’Driscoll,Michael(2001).Organizational Stress.Thousand Oaks, California:Sage.
Cooper,C.L.,EI-Batawi, M. A.,& Kalimo,R.(1987).Psychosocial factors at work and their relation to health.Geneva: World Health Organization.
Greenberge,J.(2005).Managing behavior in organization.Upper Saddle River,NJ: Pearson Education.
Hair,J.F.,Black,W.C.,Babin,B.J. and Anderson, R.E. (2010).Multivariate Data Analysis: A Global Perspective7th. Upper Saddle River NJ: Pearson Education International.
Robbins,S.P&Judge,T.(2007).Organization behavior.Upper Saddle River,New Jersey: Pearso.
Seldin,P.(1988).Evaluating and developing administrative performance : A practical guide for academic leaders(1st ed.).San Francisco:Jossey-Bass.
Yuchman,E. and Sea shor;S.E.A System Resource Approach to Organizational Effectiveness.American Sociological Review.32(6):891-903.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-21