รูปแบบนิเวศพิพิธภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนมุสลิม กรณีศึกษา ชุมชนบ้านยายม่อม อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด

ผู้แต่ง

  • ณิศิรา กายราศ สาขาวิชาการท่องเที่ยว โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

นิเวศพิพิธภัณฑ์, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, ชุมชนมุสลิม, จังหวัดตราด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก เพื่อศึกษากระบวนการขับเคลื่อนนิเวศพิพิธภัณฑ์ในชุมชนบ้านยายม่อม ประการที่สอง เพื่อค้นหาศักยภาพชุมชนในการนำทุนนิเวศมาต่อยอดเป็นกิจกรรมและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และประการสุดท้ายเพื่อสังเคราะห์ประสบการณ์ของนิเวศพิพิธภัณฑ์บ้านยายม่อม และพัฒนาเป็นตัวแบบนิเวศพิพิธภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนมุสลิม เพื่อที่จะตอบเป้าประสงค์ทั้งสามประการ งานชิ้นนี้อาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ 3 วิธี ได้แก่ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสนทนากลุ่ม  

                ผลการวิจัยหลักมีดังต่อไปนี้ ประการแรก ตัวแสดงหลักในการขับเคลื่อนนิเวศพิพิธภัณฑ์คือกลุ่มสตรีและเยาวชน กลุ่มคนเหล่านี้ได้อาศัยทรัพยากรสำคัญในชุมชน ทั้งทุนนิเวศสิ่งแวดล้อม นิเวศสังคม และนิเวศวัฒนธรรมที่มาต่อยอดเป็นกิจกรรมและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่สอดคล้องกับหลักการปฏิบัติแบบอิสลาม ประการที่สอง นิเวศพิพิธภัณฑ์เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการต่อยอดใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ทรัพยากรทางนิเวศของชุมชน และการแก้ปัญหาต่างๆของชุมชน อาทิ ปัญหาการเสื่อมลงของทรัพยากรนิเวศ และความยากลำบากทางเศรษฐกิจ ในระยะยาว นิเวศพิพิธภัณฑ์มีศักยภาพที่จะเกื้อหนุนให้เกิดการเพิ่มบทบาทของสตรีและเยาวชนอีกด้วย ประการที่สาม นิเวศพิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านยายม่อมมีคุณลักษณะสำคัญบางประการที่แตกต่างจากตัวแบบนิเวศพิพิธภัณฑ์ในที่อื่น ๆ โดยแทนที่จะมุ่งเน้นเป้าประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรเชิงนิเวศ หรือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในเชิงเศรษฐกิจ ชุมชนยายม่อมได้เลือกใช้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อเป็นแนวทางในการแสวงหาสมดุลระหว่างวัตถุประสงค์ทั้งสองด้าน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ชุมชนได้ประยุกต์ใช้แนวคิดนิเวศพิพิธภัณฑ์ให้เหมาะสมกับลักษณะความท้าทายเฉพาะที่ชุมชนเผชิญอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความยืดหยุ่นในการใช้นิเวศพิพิธภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายเชิงนิเวศในลักษณะต่างๆภายใต้บริบททางสังคมศาสนาที่แตกต่าง

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). ททท.รุกตลาดมุสลิมเปิดตัวโครงการ Muslim Friendly
Destination. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2559, จาก https://www.tatnewsthai.org/
จาระไน ไชยโยธา. (2557,กรกฎาคม-ธันวาคม). การจัดการพิพิธภัณฑ์เฉพาะทาง:กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, (16)1: 16-30.
ณิศิรา กายราศ. (2557). นิเวศพิพิธภัณฑ์โดยชุมชน: แนวคิดใหม่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
ณิศิรา กายราศ. (2559). รูปแบบนิเวศพิพิธภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน:กรณีศึกษา ชุมชนตำบลบ้าน
ช้างทูน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด.ปริญญานิพนธ์ ศศ.ด. (ศิลปวัฒนธรรมวิจัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณิศิรา กายราศ. (2560, มกราคม-เมษายน). การพัฒนารูปแบบนิเวศพิพิธภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนตำบลบ้านช้างทูน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด. วารสารวิจัยมสด. (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 13(1): 133-150.
ณิศิรา กายราศ. (2560).รูปแบบนิเวศพิพิธภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนมุสลิม:กรณีศึกษา ชุมชน
บ้านยายม่อม อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ณรงค์ เจ๊ะเซ็น.10 มิถุนายน 2559. สัมภาษณ์.
พรพธู รูปจำลอง. (2552). กรอบนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. วิทยานิพนธ์ รป.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มารีนี วิรัญโท. 10 มิถุนายน 2559. สัมภาษณ์.
ศอลาฮฺ ซัยฟุดดีน อับดุลฮักกฺ. (2552). ศาสตร์การแพทย์ของท่านนบีมูฮัมมัด. แปลโดยมุสตอฟามานะ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสืออิสลาม.
Alpha, O.K, (1985, December) Eco-museums for the Sahel: a programme. International Museum,
37(4): 33-37.
Boylan, P. (1992,August). Eco-museums and the New Museology-Some Definitions.Museum
Journal.92(4): 29-30.
Davis, P.(2011). Eco-museums : A Sense of Place.2th.ed. London:Continuum.
Han, J.H.(2009). A Study on preservation of regional Inheritances and Utilization Method Based on the
Concept of Eco-museum-Focosing on Cheonan.Department of Architectural Engineering. Chungcheongnam-do: Korea University of Technology and Education.
Kim, H.J. (2008). Eco-museum Ki-Hang: Ma-Un Run Bomulro Ka-Duk Cha Itta. Seoul: Arekae Press.
Su, Donghai. (2008, May). The Concept of Eco-museum and Its Practice in China. Museum International
(60): 29-39.
Yun,W.K, et al.(2016). Nongchonkwa Eco-museum. Seoul: Daewonsa Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28