สุนทรียศาสตร์กับศิลปะ : จากการเสนอภาพตัวแทนถึงสุนทรียะเชิงสัมพันธ์

ผู้แต่ง

  • ทักษิณา พิพิธกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นผลมาจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาสุนทรียศาสตร์และศิลปะ ว่าด้วยเรื่องมโนทัศน์ทางสุนทรียศาสตร์และศิลปะตะวันตกซึ่งมีแก่นรากฐานในการเข้าถึงความจริง ตั้งต้นจากฐานคิดของการเสนอภาพตัวแทน (Representation) ซึ่งเป็นการน????ำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะและโลกภายนอกอย่างตรงไปตรงมา ต่อมาเมื่อมโนทัศน์ของการเข้าถึงความจริงเป็นการแสวงหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ การเข้าถึงสุนทรียรสทางศิลปะจึงเป็นการแสวงหาความจริงด้วยการเผยให้เห็นแก่นสาระภายในของสรรพสิ่ง ซึ่งเป็นความจริงที่เหนือออกไปจากโลกตามตาเห็นสู่การแสวงหาความจริงแท้อันเป็นสากลด้วยสุนทรียศาสตร์แบบรูปทรงนิยม (Formalism) ในปัจจุบันความหลากหลายและความดกดื่นจากสื่อสารสนเทศท????ำให้มนุษย์ตั้งค????ำถามและท้าทายกับสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ มนุษย์ไม่เชื่อว่ามีความจริงสมบูรณ์แบบแต่ทุกสิ่งล้วนถูกสร้าง (Construct) ขึ้น มโนทัศน์เรื่องของการเข้าถึงความจริงด้วยหลักการเสนอภาพตัวแทนจึงเป็นสิ่งที่ถูกท้าทายอีกครั้งโดยการท????ำให้ศิลปะอยู่ในประสบการณ์จริง ศิลปะร่วมสมัยเป็นการท????ำให้ผู้ชมเข้ามามีบทบาท มีส่วนร่วม เป็นการสร้างพื้นที่กิจกรรมจากเวลาและบริบทเฉพาะซึ่งมีความสัมพันธ์กับมโนทัศน์ของสุนทรียะเชิงสัมพันธ์ (Relational Aesthetics)

Downloads