การวิเคราะห์สื่อประชาสัมพันธ์เปรียบเทียบระหว่างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผู้แต่ง

  • เทอดศักดิ์ สุขดาว

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งวิเคราะห์สื่อประชาสัมพันธ์เปรียบเทียบระหว่างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (สจพ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ทั้งสามมหาวิทยาลัยมีที่มาจากที่เดียวกันโดยเริ่มจากการก่อตั้งศูนย์ฝึกโทรคมนาคม นนทบุรี สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามในข้อตกลงความช่วยเหลือทางวิชาการจากรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2503 โดยสื่อประชาสัมพันธ์ที่ทั้ง 3 มหาวิทยาลัยใช้สื่อสารมีทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบข่าวสารประชาสัมพันธ์ทั่วไป งานวิจัย ตลอดจนการด????ำเนินงานของมหาวิทยาลัย โดยแบ่งสื่อที่วิเคราะห์ออกเป็น 3 ประเภท จ????ำนวน 15 สื่อ คือ 1. สื่อมวลชน ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง หนังสือพิมพ์ 2. สื่อเฉพาะกิจ ได้แก่ จุลสาร แผ่นพับ โปสเตอร์ สื่อกลางแจ้ง วีดิทัศน์ อินเทอร์เน็ต สินค้าพรีเมี่ยม สื่อกิจกรรม 3. สื่อบุคคล ได้แก่ สื่อบุคคลโดยใช้ผู้บริหารระดับสถาบันเป็นผู้น????ำเสนอ สื่อบุคคลโดยใช้ผู้บริหารระดับคณะเป็นผู้น????ำเสนอ สื่อบุคคลโดยใช้บุคลากรของมหาวิทยาลัยเป็นผู้น????ำเสนอ และสื่อบุคคลโดยใช้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเป็นผู้น????ำเสนอ เปรียบเทียบระหว่าง 3 มหาวิทยาลัย ด้วยเทคนิค Benchmarking และวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ พบว่า มจธ.มีคุณภาพของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์มากที่สุด รองลงมาคือ มจพ. และ สจล. ตามล????ำดับ ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับการจัดล????ำดับมหาวิทยาลัยด้วยเช่นเดียวกัน โดยภาพรวมของความสอดคล้องของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ของทั้งสาม มหาวิทยาลัย พบว่า มจธ. มีความสอดคล้องมากที่สุด รองลงมา คือ มจพ. และ สจล. ตามล????ำดับ และด้านจ????ำนวนการผลิตสื่อทั้ง 3 ประเภทก็มีความสอดคล้องกับการได้รับการยอมรับจากประชาชนในการสร้างความน่าเชื่อถือ ศรัทธา และไว้ใจในมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ

Downloads