การออกแบบในงานภาพยนตร์กับบริบทสังคมและวัฒนธรรม : กรณีศึกษาผลงานของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุลในช่วงปี พ.ศ. 2553 – 2557

ผู้แต่ง

  • รินบุญ นุชน้อมบุญ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative research) นำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์(Descriptive Analysis) ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth Interview) โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประเด็น ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาวิเคราะห์การออกแบบในงานภาพยนตร์ของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ในช่วง พ.ศ.2553 - 2557 ในประเด็นรูปแบบในการนำเสนอ การออกแบบฉากและเครื่องแต่งกายในภาพยนตร์กับภาพที่ปรากฎ รวมทั้งองค์ประกอบร่วมของภาพฉากส????ำคัญและเครื่องแต่งกายนักแสดงนำกับการสื่อความหมาย 2.เพื่อศึกษาทัศนะของกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวพันกับการผลิตภาพยนตร์ในฐานะผู้สร้าง และกลุ่มนักวิชาการ นักออกแบบในงานภาพยนตร์ และนักวิจารณ์ในฐานะผู้เสพ 3.เพื่อศึกษาวิเคราะห์การออกแบบในงานภาพยนตร์ที่มีความสัมพันธ์กับการสะท้อนบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทย
ภาพยนตร์ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยภาพยนตร์จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ 1.ภาพยนตร์เรื่องชั่วฟ้าดินสลาย (พ.ศ.2553) 2.ภาพยนตร์เรื่องอุโมงค์ผาเมือง(พ.ศ.2554) 3.ภาพยนตร์เรื่องจัน ดารา ปฐมบท(พ.ศ.2555) 4.ภาพยนตร์
เรื่องจัน ดารา ปัจฉิมบท(พ.ศ.2556) 5.ภาพยนตร์เรื่องแผลเก่า(พ.ศ.2557) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบในการน????ำเสนอเป็น

ลักษณะของภาพยนตร์ย้อนยุค นำเสนอเรื่องราวผ่านกลวิธีการเล่าเรื่องสลับเหตุการณ์ในอดีต ประกอบกับจุดขายด้วยการเน้นการแสดงออกทางอารมณ์ของนักแสดง โศกนาฏกรรม ความรักและฉากศิลปะเชิงสังวาส นอกจากนี้ประสบการณ์ ผลงานและความเป็นตัวตนอันเป็นที่ยอมรับของผู้กำกับการแสดงในด้านละครเวที ยังส่งผลต่อรูปแบบในการน????ำเสนอที่ได้รับอิทธิพลของความเป็นละครเวที
การออกแบบฉากและเครื่องแต่งกายกับมิติของสุนทรียะและกระบวนทัศน์ทางศิลปะ พบว่า กระบวนการในการออกแบบมีพื้นฐานจากความสมจริง ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ ทั้งในลักษณะอิงต่อยุคสมัยในอดีตและพัฒนาขึ้นภายใต้ยุคสมัยในอดีต ด้วยกลวิธีเทคนิคของการเพิ่มและขยาย กับการประกอบสร้างความเป็นภาพยนตร์และอิทธิพลของละครเวที ซึ่งเป็นจุดเด่นและจุดขาย อันก่อเกิดลักษณะเฉพาะของการออกแบบในงานภาพยนตร์ของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล
ด้านองค์ประกอบร่วมของภาพกับการสื่อความหมาย แสดงถึงการให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์และภาพสะท้อนต่อวิถีชีวิต ศาสนาและความเชื่อ เพศ การรับอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกกับการสร้างวัฒนธรรมชาติ ศิลปะการแสดงชั้นสูงและพื้นบ้าน ซึ่งสะท้อนทั้งในลักษณะความหมายโดยนัย ความหมายแฝงและสัญลักษณ์ ภายใต้การประกอบสร้างความจริงทางสังคมและวัฒนธรรมไทยในอดีต ประกอบกับพลวัตอำนาจของพุทธธรรม การย้อนแย้งและสอบทานต่อสภาวะการณ์ในบริบทสังคมวัฒนธรรมปัจจุบัน

Downloads