วิถีชีวิตและความมั่นคงทางอาหารในมิติวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ กะเหรี่ยงโปร์ บ้านไร่ป้า ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • นพรัตน์ ไชยชนะ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • วีรวัฒน์ อุดมทรัพย์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

กระเหรี่ยงโปร์, กลุ่มชาติพันธุ์, ความมั่นคงทางอาหาร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพื้นที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและความมั่นคงทางอาหารในมิติวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปร์บ้านไร่ป้า ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพทางมานุษยวิทยา เก็บข้อมูลโดยการค้นคว้าจากเอกสาร ข้อมูลจากภาคสนามใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูล โดยมีการตรวจสอบข้อมูลทุกขั้นตอน พื้นที่ศึกษา คือ บ้านไร่ป้า หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

ผลการวิจัยพบว่า บ้านไร่ป้า ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี มีความมั่นคงทางอาหาร เพราะชุมชนมีความอุดมสมบูรณ์ ชาวกะเหรี่ยงโปร์เข้าถึงอาหารอย่างเพียงพอ ถึงแม้ปัจจุบันจะทำได้ยากกว่าในอดีต เพราะความอุดมสมบูรณ์ของป่าและสัตว์ป่าลดลง และเรื่องกฎหมาย พ.ร.บ.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า กะเหรี่ยงบ้านไร่ป้า สามารถเข้าถึงอาหารจากแหล่งบริโภคอื่นๆ คือ ร้านค้าในชุมชนหรือรถขายกับข้าวจากตลาดในตัวเมืองหมุนเวียนเข้ามา ชุมชนแห่งนี้มีรูปแบบการผลิตเอื้อต่อการมีอาหารไว้บริโภคตลอดปี คือ การปลูกข้าวไร่เพียงพอสำหรับการบริโภคตลอดปี การปลูกพืชบริเวณที่อยู่อาศัย และการสืบทอดภูมิปัญญาในชุมชน เป็นการรักษาความสมดุลให้สามารถมีแหล่งอาหารไว้บริโภคตลอดปี สืบทอดกระบวนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการถนอมอาหาร ด้วยวิธีการตาก ดอง หมัก ตกทอดเป็นมรดกแห่งกลุ่มชนของวิถี “ลือกาเวาะ” ทำให้ชุมชนแห่งนี้สามารถดำรงอยู่ได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน

 

 

References

งามพิศ สัตย์สงวน. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพทางมานุษยวิทยา. ตำราในโครงการตำราพื้นฐานคณะรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชมัยพร บัวมาศ. (2548). ความหลากชนิดของมด บริเวณห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาป่าไม้. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ถุงแฮะ นามสมมติ. ชาวบ้านบ้านไร่ป้า. สัมภาษณ์. 12 มกราคม 2559.
นพรัตน์ ไชยชนะ. (2557). การสืบสานวัฒนธรรมการกินกะเหรี่ยงโปร์บ้านทิพุเย. ใน วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. 3(2). 79 – 88.
นิยพรรณ วรรณศิริ. 2550. มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส จำกัด.
บดินทร สอนสุภาพ. (2553). พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านไร่ป้า ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. สาขาวิชาพืชสวน ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปิยนาถ อิ่มดี. (2547). ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนชนบท: ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านป่าคา หมู่ที่ 2 ตำบลสวก อำเภอน่าน จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โพ่จี เกตุจำนงรัศมี. ชาวบ้านบ้านไร่ป้า. สัมภาษณ์. 16 มกราคม 2559.
มาลี ทองเมธารัตน์. ชาวบ้านบ้านไร่ป้า. สัมภาษณ์. 8 มกราคม 2559.
วัลย์ลิกา สรรเสริญชูโชติ. (2545). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงในวิถีการผลิต และระบบความสัมพันธ์ทางสังคมในมิติชายหญิงของชุมชนกะเหรี่ยง: ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านทิพุเย หมู่ที่ 3 ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศจินทร์ ประชาสันติ์. (2555). ความมั่นคงทางอาหาร: แนวคิดและตัวชี้วัด. นนทบุรี: มูลนิธิชีววิถี.
ศยามล เจริญรัตน์. (2556). ความมั่นคงทางอาหาร ป่าชุมชนกับการผลักดันเรื่องความเป็นธรรมเพื่อชุมชนท้องถิ่น. ประชุมวิชาการประจำปี 57 : สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนธยา พลศรี. (2553). หลักสังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สันติพงษ์ ความสุขล่ำ. ปราชญ์ชุมชนบ้านไร่ป้า. สัมภาษณ์. 16 กุมภาพันธ์ 2559.
สุธานี มะลิพันธ์. (2552). ความมั่นคงทางอาหารของชาวลัวะบ้านป่ากำ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรชีวภาพ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สุรชัย รักษาชาติ. (2545). ความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนของคนชายขอบ : รูปแบบการบริโภคและแหล่งที่มาของอาหารของครัวเรือนภาคตะวันตกประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการวางแผนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชนบทมหาวิทยามหิดล.
เสริม ขอบควันคุ้ม. ชาวบ้านบ้านไร่ป้า. สัมภาษณ์. 28 ธันวาคม 2558.
โสฬส ศิริไสย์. (2551). โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการในประชากรกลุ่มชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
อภิชาติ แก้วสีเรือน. ผู้ใหญ่บ้านบ้านไร่ป้า. สัมภาษณ์. 9 มกราคม 2557.
แอ บุญประสิทธิ์. ชาวบ้านบ้านไร่ป้า. ส้มภาษณ์. 10 ธันวาคม 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-21