การประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการแต่งกายยืนเครื่องโขน-ละครรำ สำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์ไทย) เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ประวิทย์ ฤทธิบูลย์ สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม, การพัฒนาทักษะการแต่งกายโขน-ละครรำ, ยืนเครื่อง

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการแต่งกายยืนเครื่องโขน-ละครรำ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์ไทย) เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี จำนวน 43 คน โดยการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย และใช้เครื่องมือเป็นแบบประเมินความต้องการจำเป็นโดยมีรูปแบบการตอบสนองคู่ที่ผ่านผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความสอดคล้องโครงสร้างและเนื้อหา ความเหมาะสมในการใช้ภาษาแต่ละข้อคำถาม สถิติที่ใช้ตรวจสอบข้อมูลโดยคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง หรือค่า IOC และนำมาวิเคราะห์โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลาดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น

     ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์ข้อมูลประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการแต่งกายยืนเครื่องโขน-ละครรำของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์ไทย) เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานีโดยภาพรวม พบว่า สภาพการดำเนินงานที่คาดหวังของกลุ่มตัวอย่างมีความต้องการจำเป็นทุกรายการ โดยมีดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นอยู่ระหว่าง 0.18 ถึง 0.56 โดยรายการที่มีดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านองค์ประกอบของเครื่องแต่งกายในการแสดงโขน-ละครรำ (0.56) รองลงมา คือ ด้านการนุ่งผ้าในการแสดงโขน-ละครรำ (0.49) ส่วนรายการที่มีดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ ด้านการรัดเสื้อในการแสดงโขน-ละครรำ (0.18) ตามลำดับ

     จากการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการแต่งกายยืนเครื่องโขน-ละครรำของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์ไทย) เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน 1) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของสภาพการดำเนินงานในปัจจุบัน และสภาพการดำเนินงานที่คาดหวัง ด้านองค์ประกอบของเครื่องแต่งกายในการแสดงโขน-ละครรำ โดยการทดสอบค่าทีแบบ Paired-Samples t-test พบว่า ค่าเฉลี่ยของสภาพการดำเนินงานในปัจจุบัน และสภาพการดำเนินงานที่คาดหวัง ด้านองค์ประกอบของเครื่องแต่งกายในการแสดงโขน-ละครรำ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลยังพบอีกว่าค่าเฉลี่ยของสภาพการดำเนินงานในปัจจุบัน ( = 1.95) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของสภาพการดำเนินงานที่คาดหวัง ( = 3.05) แสดงให้เห็นว่าด้านองค์ประกอบของเครื่องแต่งกายในการแสดงโขน-ละครรำ มีความต้องการจำ เป็นสำหรับการฝึกอบรม 2) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของสภาพการดำเนินงานในปัจจุบัน และสภาพการดำเนินงานที่คาดหวัง ด้านการนุ่งผ้าในการแสดงโขน-ละครรำ โดยการทดสอบค่าทีแบบ Paired-Samples t-test   พบว่า ค่าเฉลี่ยของสภาพการดำเนินงานในปัจจุบัน และสภาพการดำเนินงานที่คาดหวัง ด้านการนุ่งผ้าในการแสดงโขน-ละครรำ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลยังพบอีกว่าค่าเฉลี่ยของสภาพการดำเนินงานในปัจจุบัน ( = 2.70) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของสภาพการดำเนินงานที่คาดหวัง ( = 4.02) แสดงให้เห็นว่าด้านการนุ่งผ้าในการแสดงโขน-ละครรำ มีความต้องการจำเป็นสำหรับการฝึกอบรม 3) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของสภาพการดำเนินงานในปัจจุบัน และสภาพการดำเนินงานที่คาดหวัง ด้านการนุ่งผ้าในการแสดงโขน-ละครรำ โดยการทดสอบค่าทีแบบ Paired-Samples t-test พบว่า ค่าเฉลี่ยของสภาพการดำเนินงานในปัจจุบัน และสภาพการดำเนินงานที่คาดหวัง ด้านการนุ่งผ้าในการแสดงโขน-ละครรำ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลยังพบอีกว่าค่าเฉลี่ยของสภาพการดำเนินงานในปัจจุบัน ( = 2.93) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของสภาพการดำเนินงานที่คาดหวัง ( = 3.45) แสดงให้เห็นว่าด้านการรัดเสื้อในการแสดงโขน-ละครรำ มีความต้องการจำเป็นสำหรับการฝึกอบรม

 

References

กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์. (2557, กรกฎาคม -ธันวาคม). การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการออกแบบเครื่องแต่งกายนาฏศิลป์นิพนธ์ (นาฏศิลป์ไทย) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระหว่างปีการศึกษา 2546-2550.
วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 16 1(31).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
ขจรศักดิ์ หาญณรงค์. (2544). การหาความจำเป็นในการฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักฝึกอบรม สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
เจิมจันทร์ ทองวิวัฒน์. (2538). การระบุความจำเป็นในการฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร: เอกสารเสนอต่อคณะกรรมการ ส่งเสริมการวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์. สำเนาเอกสาร.
ชวลิต สุนทรานนท์. (2550). การศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการแต่งกายยืนเครื่องโขน-ละครรำ. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2507). ตำนานละครอิเหนา. พระนครศรีอยุธยา: คลังวิทยา.
นิตย์ สัมมาพันธ์. (2536). เอกสารการวิจัยเรื่องการสำรวจและวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรม. ม.ท.ท.
เริงลักษณ์ โรจนพันธ์. (2529). เทคนิคการฝึกอบรม. กรุงเพทมหานคร: ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28