การเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของกระบวนการผลิตเส้นยางยืดด้วยเทคโนโลยีสะอาด (Enhancement of Eco-Efficiency Performance for Tread Product Process by Clean Technology)

Authors

  • วีระวัฒน์ อุ่นเสน่หา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ชีระวิทย์ รัตนพันธ์ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ธันวดี สุขสาโรจน์ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ, กระบวนการผลิตเส้นยางยืด, เทคโนโลยีสะอาด, Eco-efficiency, Tread Product Process, Clean Technology

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของกระบวนการผลิตเส้นยางยืดด้วยเทคโนโลยีสะอาด โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจทางด้านเศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อมเพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานในระหว่าง ปี พ.ศ. 2553 – 2555 ของกระบวนการผลิตเส้นยางยืด จากนั้นจึงพัฒนาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของกระบวนการผลิตเส้นยางยืดด้วยหลักการของเทคโนโลยีสะอาด จากการศึกษาการดำเนินงานของกระบวนการผลิตเส้นยางยืดด้วยการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ พบว่า การใช้พลังงานและการใช้น้ำเป็นตัวชี้วัดที่มีค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจสูงและต่ำที่สุดตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์แนวโน้มของประสิทธิภาพชิงนิเวศเศรษฐกิจด้วยกราฟ Snapshot พบว่า การใช้ไฟฟ้า การใช้น้ำ และ การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกระบวนการผลิตเส้นยางยืดนั้นอยู่ในระดับ Fully Non-Eco-Efficiency ซึ่งเป็นระดับที่การเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจที่ลดลงควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น จากนั้นจึงประยุกต์ใช้หลักการของเทคโนโลยีสะอาดมาพัฒนาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของกระบวนการผลิตเส้นยางยืด พบว่า การจัดอบรมด้านการใช้และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำแก่พนักงานและการนำน้ำล้างชิ้นสุดท้ายกลับมาใช้ใหม่เป็นแนวทางที่ทางโรงงานเส้นยางยืดสามารถดำเนินการได้ทันทีและไม่มีค่าใช้จ่ายอีกด้วย

This research was to develop the enhancement of eco-efficiency performance of tread product processes by clean technology. Firstly, environmental and economic of eco-efficiency indictors was developed for evaluating performance of tread product processes during 2010-2012. Then, enhancing eco-efficiency approach of tread product processes was developed by clean technology concept. The result of performance evaluation for tread product process by eco-efficiency showed that energy consumption and water use was highest and lowest values of eco-efficiency, respectively. From the result of eco-efficiency trend by snapshot graph analysis showed that electric consumption, water use and carbon emission of tread product process located in Fully Non-Eco-Efficiency, which was the change level of decreased economic will coincide with the increasing environmental impact. Besides, this finding was according to the result of the eco-efficiency value found that the water use was highest resource consumption of production process. Moreover, the clean technology concept was applied for developing approach of enhancing eco-efficiency of tread product process found that the training providing of water use and consumption for worker and the reuse of final leaching water was acknowledged by tread industry due to the immediate implementation and no cost.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)