ศักยภาพของมัคคุเทศก์ไทย กับการส่งเสริมการเพิ่มรายได้จากนักท่องเที่ยว

Main Article Content

มาโนชย์ นวลสระ
สุดสันต์ สุทธิพิศาล
เกศรา สุดเพชร
โชคชัย สุเวชวัฒนกูล
ทักษิณา แสนเย็น
ไกลศักดิ์ พิกุล
วัชระ เชียงกถล

บทคัดย่อ

     มัคคุเทศก์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ดังนั้นเพื่อรองรับภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงควรผลักดันและส่งเสริมการผลิตมัคคุเทศก์ให้เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยผลิตมัคคุเทศก์ให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และผลักดันให้มีการจดทะเบียนมัคคุเทศก์ ดังนั้นโครงการพัฒนาศักยภาพของมัคคุเทศก์ไทย ในการส่งเสริมการเพิ่มรายได้จากนักท่องเที่ยว จึงมุ่งศึกษาช่องว่าง (GAP) ของความตระหนักและขีดความสามารถของมัคคุเทศก์ไทย โดยจัดทำโปรแกรมการเสริมสร้างความตระหนักและขีดความสามารถให้กับมัคคุเทศก์ ประกอบกับการฝึกอบรม ให้คำปรึกษาแก่มัคคุเทศก์ไทย และวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการทำหน้าที่ของมัคคุเทศก์ในจังหวัดสงขลา เชียงราย อุบลราชธานี และเพชรบุรี ภายหลังการจัดโครงการ พบประเด็นที่จำเป็นต้องพัฒนาและปรับปรุงสำหรับมัคคุเทศก์ในเรื่องการพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานสัดส่วนการบริการทางการตลาด การพัฒนามัคคุเทศก์ และการพัฒนาความสามารถของมัคคุเทศก์ในการเพิ่มรายได้ ในส่วนการจัดทำโปรแกรมการเสริมสร้างความตระหนักและขีดความสามารถของมัคคุเทศก์ไทยฯ พบว่า 1.ผู้เข้าร่วมโปรแกรมเห็นความสำคัญและมีแนวทางในการสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวมีการใช้บริการจากผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวภายในท้องถิ่นด้านต่างๆ 2. ผู้เข้าร่วมโปรแกรมมีแนวทางในการแสวงหารูปแบบสินค้าและบริการ รวมทั้งการประยุกต์รูปแบบสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวเพื่อช่องทางในการเพิ่มรายได้ และจะต้องมีการศึกษาข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อสนองตอบความต้องการของนักท่องเที่ยว 3. ผู้เข้าร่วมตระหนักถึงการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในวิชาชีพและอย่างสม่ำเสมอ 4.ผู้เข้าร่วมเข้าใจความสำคัญของการทำงานร่วมกัน และดำเนินงานตามแผนการทำงานของเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว ในส่วนการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแก่มัคคุเทศก์ไทยเพื่อให้มีความพร้อมในการทำหน้าที่ส่งเสริมการเพิ่มรายได้จากนักท่องเที่ยว พบว่าผู้เข้าร่วมโปรแกรมมีการเปลี่ยนแปลงระดับความเห็นที่มีต่อทักษะของตนในทางที่ดีขึ้นทุกด้านคือ การพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ 4.การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการทำหน้าที่ของมัคคุเทศก์และทำข้อเสนอแนะสำหรับภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างการบริหารจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย การพัฒนาองค์ความรู้การพัฒนาหลักสูตรการอบรมสำหรับมัคคุเทศก์ การพัฒนามาตรฐานการให้บริการ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). หลักสถิติ. กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค. (2546). การพัฒนาความสามารถเชิงสมรรถนะ: Competency-Basrd
Approach. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์นาโกต้า.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). สถิตินักท่องเที่ยวในประเทศไทย ปี2560, 12 กุมภาพันธ์ 2561.
https://www.mots.go.th/main.php?filename=index
กระทรวงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). แคมเปญ “Amazing Thailand Go Local เที่ยวท้องถิ่น
ไทย ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต” , 12 กุมภาพันธ์ 2561. https://thai.tourismthailand.org
กฤษณา พิทักษ์. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงาน บุคลิกภาพและค่านิยมกับ
คุณภาพการให้บริการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ
กองวิจัยการตลาด กรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). Customize Your Experience กลยุทธ์
ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวกลุ่มสนใจเฉพาะ, 10 กุมภาพันธ์ 2561.
https://www.etatjournal.com/web/menu-read-tat/menu-2016/menu-42016/750-42016-
customize
ฉรัต ไทยอุทิศ. (2546). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับผู้บริหาร
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยหลักการ “Balanced Scorecard”. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. กรุงเทพฯ.
ชุลีรัตน์ จันทร์เชื้อ. (2551). การวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะในการจัดการท่องเที่ยวโดย
ชุมชน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่
ชูชัย สมิทธิไกร. (2551). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร.
กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพชรมณี วิริยะสืบพงศ์. (2545). การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมคุณภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของวิทยาลัย
พยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. กรุงเทพฯ
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กรมประชาสัมพันธ์. (2561). ข่าวเด่นอาเซียน, 10 กุมภาพันธ์ 2561.
https://www.aseanthai.net/mobile_detail.php?cid=73&nid=8005

สุดสันต์ สุทธิพิศาล และคณะ. (2558). โครงการพัฒนาศักยภาพของมัคคุเทศก์ไทยเพื่อเป็นกลไกส่งเสริม
การเพิ่มรายได้จากนักท่องเที่ยว. คณะการจัดการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุดารัตน์ หมวดอินทร์. (2560). ปัญหามัคคุเทศก์ไทยและข้อเสนอแนวทางแก้ปัญหา. กลุ่มงาน
คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว สำนักกรรมาธิการ
สำนักข่าวอิศรา. (2560). เจาะปฏิบัติการกวาดล้าง"มัคคุเทศก์"เถื่อน! บริษัททัวร์ 1.1 หมื่นราย เบี้ยวส่ง
ข้อมูลรัฐ?, 10 กุมภาพันธ์ 2561. https://www.isranews.org/isranews-scoop/39876-report02_39876.html
สำนักพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์. (2560). ธุรกิจท่องเที่ยว, 10 กุมภาพันธ์ 2561.
https://www.prachachat.net/tourism/news-5718