ความพึงพอใจต่อบรรยากาศการตลาดกับความตั้งใจในการมาซ้ำของผู้มาเยือนแหล่งท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อรชร มณีสงฆ์
พัชรา ตันติประภา

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความพึงพอใจต่อบรรยากาศการตลาดกับความตั้งใจในการมาซ้ำของผู้มาเยือนแหล่งท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ก่อให้เกิดการซื้อซ้ำ และสร้างความภักดี อีกทั้งยังช่วยแนะนำผู้ซื้อรายใหม่มาใช้บริการ ส่งผลต่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่ กำหนดขนาดตัวอย่าง 120 ราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามที่ใช้มาตราส่วนประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศชาย อายุ 60-69 ปี วางแผนจะพำนักระยะยาว มากกว่า 10 ปี ผู้ตอบมี ความพึงพอใจต่อบรรยากาศทางตลาด ด้านปัจจัยผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวและบรรยากาศการตลาดแบบยั่งยืน ในระดับปานกลาง ผู้ตอบส่วนมากมีความตั้งใจกลับมาซ้ำ ผลการศึกษาชี้ว่า ปัจจัยด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ณ แหล่งท่องเที่ยว มีความสัมพันธ์ด้านบวกกับความตั้งใจในการมาซ้ำ ส่วนด้านบรรยากาศของการตลาดแบบยั่งยืน ไม่มีความสัมพันธ์ด้านบวกกับความตั้งใจในการมาซ้ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุณฑลี รื่นรม และคณะ. (2547). การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด สร้างองค์กรให้แตกต่างอย่าง
เหนือชั้น. กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิกส์.
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2551). รัฐบาลญี่ปุ่นนำ Eco Action Point มาใช้กระตุ้น
พฤติกรรมการรักษาสิ่งแวดล้อมในกลุ่มผู้บริโภค. สืบค้น 9 กรกฎาคม 2558, จาก
https://www.ditp.go.th/contents_attach/52521/51016591.pdf
การตลาดเปลี่ยนแปลงโลก ทุนนิยมมุ่งสู่การสร้างความยั่งยืน. (9 กรกฎาคม 2558). ไทยรัฐ
ออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/457745
เฉลิมพล แจ่มจันทร์ และอรไท โสภารัตน์. (2555). การพำนักระยะยาวของคนญี่ปุ่นในจังหวัด
เชียงใหม่ : การวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดในช่วงก่อนและหลังการพำนัก. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 29(1), 17-34.
เชียงใหม่หนุนเที่ยวพำนักระยะยาว เอกชนดันเป็น "นครแห่งลองสเตย์" รองรับผู้สูงอายุ
นานาชาติ. (14 ธันวาคม 2558). ประชาธุรกิจออนไลน์. สืบค้นจากhttps://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1469183836
ปัญจมา แผลงศร. (2557). การสร้างปฎิสัมพันธ์ระหว่างคนญี่ปุ่นที่พำนักระยะยาวกับคนไทย
ในท้องถิ่น กรณีศึกษา จ.เชียงใหม่. ปริญญานิพนธ์คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พบพร โอทกานนท์ และเยาวภา ปฐมศิริกุล. (2556). รูปแบบคุณภาพบริการ ภาพลักษณ์แหล่ง
ท่องเที่ยว และความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวของชาวยุโรปและอเมริกัน. วารสารธรรมศาสตร์, 32(1), 36-56.
พีระพัฒน์ ถากาศ. (2554). รายงานการวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยวแบบลองสเตย์ของ
นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ลองสเตย์ ญี่ปุ่นทะลักเชียงใหม่ ทุ่มทุน3พันล.ผุดที่พัก5ดาว-สถานพยาบาลรองรับ. (21
ธันวาคม 2558). ประชาธุรกิจออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/
news_detail.php?newsid=1401110978
วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2550). การท่องเที่ยวพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้น 11
สิงหาคม 2558, จาก https://www.oknation.net/blog/print.php?id=111817
ศิโสภา อุทิศสัมพันธ์กุล. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการซื้อช้ำในธุรกิจออนไลน์
Group Buying. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Belz, F. M. (2006). Marketing in the 21st Century. Business Strategy and the
Environment, 15(3), 139-144.
Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text. Sydney: Hodder Education.
Krejcie, Robert V. and Morgan, Daryle W. (1970). Determinining Sample Size for
Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610.
Kotler, P., Kartajaya, H., Yong S. D. (2004). Attracting investors : a marketing
approach to finding funds for your business. New Jersey: John Wiley & Sons.
Kotler, P., Bowen J. T. & Makens J. C. (2006). Marketing for hospitality and
tourism. New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Middletom, V.T.C. (1994). Marketing in Travel Tourism. Oxford: Butterworth-
Heineman.
World Commission on Environment and Development. (1987). Our Common
Future. Retrieved November 17, 2015, from https://www.un
documents.net/our-common-future.pdf