พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

ชิดชนก อนันตมงคลกุล
กัญญาพัชร์ พัฒนาโภคินสกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้  เป็นการศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ จำนวน 15 คนที่มีจุดประสงค์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบ 3 ประเด็นหลัก คือ 1) แรงจูงใจเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประกอบด้วย แรงจูงใจเพื่อการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ใหม่ การสัมผัสกับวัฒนธรรมท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น 2) กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์จะต้องมีความแปลกใหม่ มีคุณค่า มีส่วนร่วม และสร้างเสริมประสบการณ์ เช่น กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา กิจกรรมเชิงวิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่น กิจกรรมเชิงอาหารพื้นถิ่น และกิจกรรมเชิงศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวพบได้ในพื้นที่เฉพาะเท่านั้น และเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริง 3) ปัญหาจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พบว่า ปัญหาด้านภาพลักษณ์ที่ไม่ชัดเจนในการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมของจังหวัดภูเก็ตเป็นประเด็นที่ได้รับการกล่าวถึงเป็นลำดับแรก ผลการศึกษาเรื่องนี้เป็นประโยชน์ต่อทั้งเชิงวิชาการในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและบริการ รวมถึงหน่วยงานและอุตสาหรรมที่เกี่ยวข้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว (2559) . สถิตินักท่องเที่ยว. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก
https://61.19.236.136:8090/dotr/statistic_compare.php. (2560, 12 ตุลาคม)
กระทรวงวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต (2558). ข้อมูลวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://culture.go.th/phuket/ewt_news.php?nid=544&filename=slider#. (2560,
20 ตุลาคม).
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2560). เที่ยวไทยเก๋ไก๋ สไตล์ลึกซึ้ง [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://www.posttoday.com/travel/478936 (2562, 8 มกราคม)
กาญจนา แสงลิ้ม และศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ. (2555). การท่องเที่ยงเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน.
วารสารนักบริหาร ปีที่ : 32 ฉบับที่ : 4 เลขหน้า : 139-146 ปี พ.ศ. : 2555
คนึงนิจ ภักดีวงศ์ (2540). อาหารพื้นเมืองภูเก็ต (Phuket cook book) Typical dishes of Phuket.
สถาบันราชภัฏภูเก็ต, มีนาคม พ.ศ 2540
จังหวัดภูเก็ต (2560). แผนยุทธศาสตร์ Phuket: City of Gastronomy พ.ศ. 2560 – 2564.
สำนักงานจังหวัดภูเก็ต. 10 เมษายน 2560.
จังหวัดภูเก็ต (ม.ป.ด.). ย่านเมืองเก่าภูเก็ต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://www.smartandaman.com. (2560, 23 ตุลาคม).
ชนินทร์ อยู่เพชร (2559). การพัฒนาและส่งเสริมทรัพยากรการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน. ในเอกสาร
การสอนชุดวิชาการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธัมมามนตร์ คุณรัตนากรณ์, สมจิตร ล้วนจำเริญ, ราณี อิสิชัยกุล และวัชรีภรณ์ ไชยมงคล (2557).
อิทธิพลของส่วนประสมทางการการตลาด และภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรมที่มีต่อความภักดีในการบริการท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมไทยของนักท่องเที่ยว
ชาวต่างชาติ. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังมคมศาสตร์ (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2557.
บรรจง อูปแก้ว วัชราภรณ์ ชัยวรรณ และสำอาง ธนะวัติ (ม.ป.ด.). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรม วัดสถารศ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร
ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และเพ็ญศิริ ศรีคําภา (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. บริษัท ธรรม
สาร จำกัด พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2557.
พิศาล แก้วอยู่ และประกอบศิริ ภักดีพินิจ (2557). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
โดยการปรับใช้หัตถกรรมจักสานผักตบชวา ในพื้นที่อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา. สาขาการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา, การประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 ประจำปี 2557
นงลักษณ์ จันทาภากุล และนรินทร์ สังข์รักษา (2556). การศึกษาศักยภาพในการท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรมของชุมชนบ้านพัวเขาจีน จังหวัดราชบุรี, วารสารวิทยบริการ ปีที่: 24 ฉบับที่: 2 พ.ศ. 2556
นุชนานารถ รัตนสุวงศ์ชัย (2554). กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. บทความนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการระดับชาติ “มนุษยศาสตร์ในทศวรรษใหม่: พลวัตแห่งองค์ความรู้กับพหุลักษณ์ทางวัฒนธรรม” วันที่ 18-19 สิงหาคม 2554
รัชดา จิรทมากุล (2559). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรม ใน
ชุมชนบ้านแขนน อำเภอถลาง. วารสารกระแสวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสยาม ปีที่: 17 ฉบับที่ : 31 เลขหน้า: 3-17 ปีพ.ศ.: 2559
วริศรา บุญสมเกียรติ (2555), แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัด
นครศรีธรรมราช:วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดธาตุน้อยและโบราณสถานวัดโมคลาน.
วิทยานิพนธ์ของหลักสูตรศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัย
ธุรกิจบัณฑิต, เลขหน้า: 1-136 ปี พ,ศ,: 255
วิชิต อู่อ้น และ รัฐวัชร์ พัฒนจิระรุจน์ (2547). ทฤษฏีพฤติกรรมผู้บริโภค. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://poundtv5.blogspot.com/2014/10/theory-of-consumer-behavior.html (2559, 11 ตุลาคม)
สงกรานต์ เขื่อนธนะ (2556). การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ลุ่มน้้าว้า จังหวัดน่าน.
มหาวิทยาลัยพะเยา
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์, พิเชฐ สายพันธ์, อรอุมา เตพละกุล และ ธีระ สินเดชารักษ์ (2556). การ
ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism), พิมพ์ที่ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน), กันยายน พ.ศ.2556
Charmaz, K. (2005). Grounded Theory in the 21st century, Applications for advancing
social justice studies (pp. 507-537).
Chen, H., & Rahman, I. (2017). Cultural tourism: An analysis of engagement, cultural contact,
memorable tourism experience and destination loyalty. Tourism Management Perspectives.
Maslow, A. H. (1943). A theory of human motivation. Psychological Review, 50(4), 370-396.
Phuket. (2018). ภูเก็ต เมืองวัฒนธรรมสร้างสรรค์ด้านอาหารของยูเนสโก. [online] Retrieved
January, 2018 from www.phuketgastronomy.com.
Tan, S. K., Kung, S. F., & Luh, D. B. (2013). A model of ‘creative experience’ in creative
tourism. Annals of tourism research, 41, 153-174.
Wongwanich, Wanna (1996), Geography of Tourism. Bangkok : Department of
Geography,Faculty of Social Sciences, Srinakharinwirot University