ยุทธศาสตร์ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา: การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

sor sirichai Nakudom
Pannapa Khiawnoi
Siwaporn Thawornwongsa

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องยุทธศาสตร์ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา: การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน และ 2) เสนอแนะยุทธศาสตร์การสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา: การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารราช จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เกี่ยวข้องจำนวน 20 ราย ใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันตามแบบจำลองเพชรพลวัต(Dynamic Diamond Model) วิเคราะห์สภาพองค์กร (SWOT Analysis) และ (TOWS Matrix) ผลการศึกษาพบว่า 1) ยุทธศาสตร์การลดต้นทุนในการดำเนินงาน ประกอบด้วย กลยุทธ์การสร้างเครือข่าย และกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระดับนานาชาติ 2) ยุทธศาสตร์การสร้างความแตกต่าง ประกอบด้วยกลยุทธ์ส่งเสริมรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 3) ยุทธศาสตร์การตอบสนองความต้องการของลูกค้า ประกอบด้วย กลยุทธ์การท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน และกลยุทธ์พัฒนาการขนส่งเพื่อรองรับการท่องเที่ยว 4) ยุทธศาสตร์การสร้างความยั่งยืน ประกอบด้วย กลยุทธ์การร่วมกันพัฒนา 3 ด้าน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน และกลยุทธ์พัฒนาจิตสำนึกในการอนุรักษ์สถานที่ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของนักท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). สถิตินักท่องเที่ยว, 2 มีนาคม 2561. https://www.mots.go.th/
more_news.php?cid=411&fbclid=IwAR1kdFGdi3-mbAiTLdU4D0JNTMn5hho5AXHlGDz7d
OSz0L6loAduwk3r6w0
ชัยนันต์ ไชยเสน. (2559). ประเด็นท้าทายและแนวทางประสบความส าเร็จในการควบคุมต้นทุนอาหารและ
เครื่องดื่มธุรกิจโรงแรม. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 12(1), 23-45.
เดือนเพ็ญ ค าพวง และคณะ. (2559). กระบวนการสร้างเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน ใน
อ าเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 12(1), 65-90.
มาลัย โพธิพันธ์ และวรรณา อาจณรงค์. (2561). การวิเคราะห์ระบบการขนส่งนักท่องเที่ยว : กรฯศึกษาเกาะ
ช้าง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี, 1(1).
ทักษิณ ปิลวาสน์ และคณะ. (2556). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
ในเขตสามเหลี่ยมอันดามัน. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 19(2).
นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์ คณะ
มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 18(1).
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และเพ็ญศิริ ศรีค าภา. (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์
วิชาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ปิ่นฤทัย คงทอง และสุวารี นามวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความส าเร็จของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรม ของจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 12(2), 1-32.
ปุณยวีร์ ศรีรัตน์. (2559). การจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เมื่อได้รับการ
ประกาศเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 149-158.
สมจินต์ ชาญกระบี่ และนรินทร์ สังข์รักษา. (2560). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัด
สุพรรณบุรี. Veridian e-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2),
2410-2425.
สมบูรณ์ ชาวชายโขง และคณะ. (2552). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวที่เหมาะสมส าหรับบ้านท่าวัด อ าเภอ
เมือง จังหวัดสกลนคร เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในเส้นทางเศรษฐกิจ แนวตะวันออก-ตะวันตก สู่การ
พัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(1), 63-74.
อรวี บุนนาค. (2558). กลยุทธ์การน าเสนอสารประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในวันแห่งความรักของการท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(2), 34-46.
Porter, M. E. (1990). The Competitive Advantage of Nations. Harvard Business Review. 73-81.
Porter, M. E. (1997). Competitive Strategy. Measuring Business Excellence, 1(2), 12-17.
Weihrich. H. (1 9 8 2 ) . Strategic career management - A missing link in management by
objectives, Human Resource Management, 21(2-3), 58.