กลยุทธ์การพัฒนาแบบองค์รวมเพื่อยกระดับคุณภาพอาหารท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการประกอบธุรกิจร้านอาหาร/ภัตตาคารและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

เรณุมาศ กุละศิริมา

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาแบบองค์รวมเพื่อยกระดับคุณภาพอาหารท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการประกอบธุรกิจร้านอาหาร/ภัตตาคารและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเขตพัทยา ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทดสอบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย การวิเคราะห์จุดแข็ง/จุดอ่อน โอกาส/อุปสรรค การสังเคราะห์ข้อมูล และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางที่มีนัยสำคัญในการสร้างกลยุทธ์การพัฒนาแบบองค์รวมเพื่อยกระดับคุณภาพอาหารท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการประกอบธุรกิจร้านอาหารและการท่องเที่ยวเมืองพัทยา ประกอบด้วยการพัฒนาใน 4 มิติ กล่าวคือ 1) การพัฒนารายอาหารท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักท่องเที่ยวในพัทยา 2) การพัฒนาแผนการประกอบธุรกิจร้านอาหาร/ภัตตาคารเพื่อส่งเสริมอาหารท้องถิ่นในการท่องเที่ยวในพัทยา 3) การพัฒนาการบรรจุภัณฑ์เพื่อการสร้างตราและเพิ่มมูลค่าอาหารท้องถิ่นพัทยา และ 4) การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารของเมืองพัทยา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์ และปณิศา มีจินดา. (2555). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตรา
โดยการบูรณาการรายการอาหารท้องถิ่นไทยและการส่งเสริมการตลาดของภัตตาคาร/ร้านอาหารสำหรับ
นักท่องเที่ยว: กรณีศึกษาพัทยา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวน
ดุสิต.
ชญานิน วังซ้าย. (2560). Food will Keep Us Alive.13 สิงหาคม 2561. https://etatjournal.files.
wordpress.com/2017/01/tat12017-rev2.pdf.
ธันยมัย เจียรกุล, ณัฐพล พนมเลิศมงคล และสุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ. (2557). ศักยภาพของผู้ประกอบการ
ธุรกิจเครื่องปรุงรสไทยเพื่อเข้าสู่ตลาดการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารธุรกิจปริทัศน์.
6(2), 55-74.
เปรมฤทัย แย้มบรรจง และเรณุมาศ กุละศิริมา. (2555). การพัฒนารายการอาหารท้องถิ่นไทยของภัตตาคาร/
ร้านอาหารสำหรับนักท่องเที่ยว: กรณีศึกษาพัทยา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษา.
เรณุมาศ กุละศิริมา และคณะ. (2555). แผนเชิงกลยุทธ์ในการสร้างคุณค่าตราให้แข็งแกร่งในการประกอบการ
ร้านอาหาร/ภัตตาคารเพื่อสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สำนักปลัดเมืองพัทยา. (2558). ข้อมูลพื้นฐาน. 16 มกราคม 2559. http://www.pattaya.go. th/city-
information
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว. (2552). รายงานประจำปี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว.
สำนักการค้าบริการและการลงทุน. (2560). การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารGastronomy
Destination) ของไทย. 13 สิงหาคม 2561. http://dtn.go.th/images/86/services/Gastronomy.pdf.
หทัยชนก ฉิมบ้านไร่ และรักษ์พงศ์ วงศาโรจน์. (2558). ศักยภาพอาหารพื้นเมืองและแนวทางการส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวผ่านอาหารพื้นเมืองจังหวัดน่าน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 11(1), 37-53.
อุดม หงส์ชาติกุล. (2560). Thailand as a Gastronomy Destination. 13 สิงหาคม 2561. http://
news.mbamagazine.net/index.php/people/intelligent-network/item/231-thailand-as-a-
gastronomy-destination.