แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของภาคีการท่องเที่ยว : กรณีศึกษาประเพณีถือศีลกินผัก ศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย จังหวัดตรัง

Main Article Content

JESSADA NINSANGUANDECHA

บทคัดย่อ

                 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาบริบทของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในงานประเพณีถือศีลกินผักของศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย จังหวัดตรัง (2) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในงานประเพณีถือศีลกินผักของศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย จังหวัดตรัง (3) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในงานประเพณีถือศีลกินผักของศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย จังหวัดตรัง โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบไปด้วยการศึกษาภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล และการสํารวจเชิงพื้นที่ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงมากที่สุด จากนั้นทําการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อเสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของภาคีการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยว ผู้นำชุมชน  หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนที่เข้าร่วมในงานประเพณีถือศีลกินผัก ศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย จังหวัดตรัง


             ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ประชาชนในพื้นที่โดยทั่วไปให้ความสำคัญต่องานประเพณีถือศีลกินผักเป็นอย่างมาก จะใช้เข้าร่วมกิจกรรมและพิธีกรรมต่าง ๆ ตลอดการจัดงาน ภาคีการท่องเที่ยวมีการจัดการประชาสัมพันธ์และการบริการที่ดี ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และให้คำแนะนำแก่นักท่องเที่ยว จึงทำให้มีขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวได้ จากการรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวและประชาชนที่เข้าร่วมงานประเพณีถือศีลกินผัก จำนวน 400 คน พบว่า ศักยภาพความพร้อมในการดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะด้านคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมในงานประเพณีถือศีลกินผักของศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย จังหวัดตรัง ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมากที่สุด ศักยภาพของผู้คนในพื้นที่จำเป็นต้องรู้จักรากเหง้าของตนเองให้ดี เพื่อความพร้อมในการบอกเล่าข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว คนในชุมชนก็ต้องรู้จักรักและหวงแหน รวมทั้งเห็นคุณค่าของงานประเพณีของตน สามารถที่จะนำมาจัดการได้อย่างยั่งยืน ด้านศักยภาพของพื้นที่ศาลเจ้ายังคงยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมา ทำให้มีความพร้อมในการเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นได้ ดังนั้น แนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของภาคีการท่องเที่ยวในงานประเพณีถือศีลกินผัก ศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย จังหวัดตรัง ที่ได้จากการศึกษาวิจัย มี 5 แนวทางดังนี้ 1. จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลประวัติความเป็นมาของงานประเพณีนี้อย่างจริงจัง 2. ปลูกฝังและสร้างจิตสํานึกให้ผู้คนในจังหวัดตรังเกิดความรักและหวงแหนประเพณีท้องถิ่นของตน 3. เน้นการท่องเที่ยวที่ให้องค์ความรู้แก่นักท่องเที่ยวเป็นสําคัญและให้มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 4. จัดการการท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมดั้งเดิม และ 5. สนับสนุนให้งานประเพณีถือศีลกินผัก ศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย จังหวัดตรัง ได้รับการขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2556). คู่มือการจัดการแหล่งท่องเที่ยว : สิ่งอำนวยความสะดวกและองค์ประกอบกายภาพ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2539). การพัฒนาการท่องเที่ยวในทิศทางที่ยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
จำนง ศรีนคร, บรรณาธิการ. (2558). ถือศีลกินผักที่เมืองตรัง”. ADDtrang Free Copy Magazine, 1(3), 9.
บุณยสฤษฎ์ อเนกสุข. (2557). ยล เยี่ยม เยือน เหย้า: แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2556). มาลีศรีตรัง สารคดีจากเมืองใต้. กรุงเทพมหานคร: สถาพรบุ๊คส์.
ประภัสสร เสวิกุล. (2548). จากฮวงโหสู่เจ้าพระยา. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลนครตรัง. (2559). แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ. 2561-2564) เทศบาลนครตรัง. ตรัง : เทศบาลนครตรัง.
ราณี อิสิชัยกุล. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวเฉพาะทาง. นนทบุรี : ฝ่ายตำรา สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Myriam Jansen-verbeke, Gerda K. Priestley, Antonio P. Russo. (2008). Cultural Resources for Tourism: Patterns, Processes and Policies. New York: Nova Science Publishers.
Graham, W.A. (1924). Siam: A Handbook of Practical, Commercial, and Political Information, 3rd edition, London: Alexander Moring Limited, The De La More Press.