การศึกษาสมบัติทางกายภาพของอิฐปูพื้นสำเร็จรูปจากดินลูกรัง

Main Article Content

ไพลิน ทีงาม
คัชรินทร์ เวชชากุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของอิฐปูพื้นสำเร็จรูปจากดินลูกรังแต่ละขนาด โดยใช้ดินลูกรังในพื้นที่ตำบลกระแชง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ ดินลูกรังคละขนาดบด ดินลูกรังคละขนาดไม่บด ดินลูกรังขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร และดินลูกรังขนาด 5 – 10 มิลลิเมตร มาผสมกับปูนซีเมนต์ ทราย ในอัตราส่วน ปูนซีเมนต์ : ดินลูกรัง : ทราย ทำการผสมในจำนวน 5 อัตราส่วน คือ
1 : 4.5 : 2.5, 1 : 4 : 3, 1 : 3.5 : 3.5, 1 : 3 : 4 และ 1 : 2.5 : 4.5 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า อัตราส่วนในการผสมอิฐปูพื้นดินลูกรังคละขนาด และดินลูกรังขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร อัตราส่วนที่เหมาะสมในการขึ้นรูป คือ อัตราส่วน 1 : 3.5 : 3.5 ส่วนดินลูกรังขนาดใหญ่กว่า 5 -10 มิลลิเมตร อัตราส่วนที่เหมาะสมในการขึ้นรูป คือ อัตราส่วน 1 : 3 : 4  อิฐปูพื้นจากดินลูกรังมีค่าความสามารถในการทนต่อแรงอัด 135 – 150 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร  ความหนาแน่นอิฐปูพื้นในสภาพแห้งเท่ากับ 2,314.516 - 2,348.710 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ค่าการดูดซึมน้ำร้อยละ 8.375 - 11.610 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าการดูดกลืนความร้อนต่ำกว่าบล็อกปูพื้นคอนกรีต ซึ่งเมื่อนำอิฐปูพื้นจากดินลูกรังเทียบกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนพบว่ามีค่าความสามารถในการทนต่อแรงอัด และความสามารถในการดูดซึมน้ำผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

Article Details

How to Cite
[1]
ทีงาม ไ. และ เวชชากุล ค., “การศึกษาสมบัติทางกายภาพของอิฐปูพื้นสำเร็จรูปจากดินลูกรัง”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 7, ฉบับที่ 2, น. 1–12, ธ.ค. 2017.
บท
บทความวิจัย