การใช้เถ้ากะลามะพร้าวเป็นมวลรวมน้ำหนักเบาในคอนกรีตบล็อก เพื่อการประหยัดพลังงาน

Main Article Content

วิหาร ดีปัญญา
ปราโมทย์ วีรานุกูล
กิตติพงษ์ สุวีโร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการผลิต อัตราส่วนที่เหมาะสม สมบัติทางกายภาพ  สมบัติทางกล ความเป็นฉนวนป้องกันความร้อน ประสิทธิภาพการป้องกันเสียง และการใช้งานจริงของคอนกรีตบล็อกผสมเถ้ากะลามะพร้าว อัตราส่วนของคอนกรีตบล็อกผสมเถ้ากะลามะพร้าว ประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 : หินฝุ่น : เถ้ากะลามะพร้าว เท่ากับ 1 : 6.8 : 0.2, 1 : 6.7 : 0.3, 1 : 6.6 : 0.4, 1 : 6.5 : 0.5 และ 1 : 6.4 : 0.6 โดยน้ำหนัก อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ เท่ากับ 0.6 โดยน้ำหนัก ขึ้นรูปตัวอย่างคอนกรีตบล็อกด้วยขั้นตอนการผลิตเช่นเดียวกับคอนกรีตบล็อกทั่วไป ทดสอบสมบัติตามมาตรฐาน มอก.58-2533 จากผลการทดสอบ พบว่า อัตราส่วนของเถ้ากะลามะพร้าวที่ดีที่สุดสำหรับผสมลงในคอนกรีตบล็อก คือ อัตราส่วน 1 : 6.7 : 0.3 ซึ่งปริมาณเถ้ากะลามะพร้าวที่เหมาะสม สามารถลดความหนาแน่นหรือน้ำหนักต่อก้อนให้ต่ำลงได้ รวมทั้ง ช่วยเพิ่มความเป็นฉนวนป้องกันความร้อน และประสิทธิภาพการป้องกันเสียง เมื่อเปรียบเทียบกับคอนกรีตบล็อกทั่วไป อย่างไรก็ตาม การผสมปริมาณเถ้ากะลามะพร้าวที่มากเกินไป มีผลทำให้สมบัติทางกลต่ำกว่าที่มาตรฐาน มอก.58 - 2533 กำหนด

Article Details

How to Cite
[1]
ดีปัญญา ว., วีรานุกูล ป., และ สุวีโร ก., “การใช้เถ้ากะลามะพร้าวเป็นมวลรวมน้ำหนักเบาในคอนกรีตบล็อก เพื่อการประหยัดพลังงาน”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 7, ฉบับที่ 2, น. 31–48, ธ.ค. 2017.
บท
บทความวิจัย