ระบบประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนสำหรับการศึกษายุค 4.0 (มิติทางเทคนิค)

Main Article Content

พันธิการ์ วัฒนกุล
สุรศักดิ์ มังสิงห์

บทคัดย่อ

ห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนที่พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 มีประสิทธิภาพด้านเทคนิคที่แตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีที่นำมาใช้ งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดในมิติ
ทางเทคนิคและระบบประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนสำหรับการศึกษายุค 4.0 (มิติทางเทคนิค) โดย การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 คน ระบบประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนสำหรับการศึกษายุค 4.0 (มิติทางเทคนิค) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของตัวชี้วัดในมิติทางเทคนิคที่ได้รับการพัฒนาขึ้น โดยการทดสอบกับตัวอย่างห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนจำนวน 5 รูปแบบ ที่มีลักษณะทางเทคนิคที่แตกต่างกัน ผลการประเมินพบว่ามีความสอดคล้องกับสมรรถนะตามตัวชี้วัดในมิติทางเทคนิคของห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนแต่ละแบบ และคะแนนที่ได้รับเป็นตัวบ่งบอกระดับคุณภาพของห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนตามความสำคัญของน้ำหนักตัวชี้วัด

Article Details

How to Cite
[1]
วัฒนกุล พ. และ มังสิงห์ ส., “ระบบประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนสำหรับการศึกษายุค 4.0 (มิติทางเทคนิค)”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 7, ฉบับที่ 2, น. 160–175, ธ.ค. 2017.
บท
บทความวิจัย