การวิจัยเนื้อดินบ้านบ่อสวก จังหวัดน่าน

Main Article Content

อุษณีย์ มาลี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ได้ศึกษาคุณสมบัติของดินใกล้แหล่งเตาเผาบ้านบ่อสวก จังหวัดน่าน จำนวน 3 แหล่ง ประกอบด้วยดินใกล้แหล่งเตาเผาจ่ามนัส ดินใกล้แหล่งเตาเผาบ้านดงปู่ฮ่อ และดินใกล้แหล่งเตาบ้านหนองโต่ม ผลการศึกษาดินทั้ง 3 แหล่งพบว่าขนาดอนุภาคเฉลี่ยอยู่ที่ 11.48 ไมครอน 7.96 ไมครอนและ 8.21 ไมครอนตามลำดับ เมื่อนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีพบว่าดินทั้ง 3 แหล่งพบปริมาณของซิลิกาค่อนข้างสูงมากกว่าร้อยละ 80 และยังพบปริมาณของเหล็กออกไซด์ในเนื้อดินร้อยละ 1.70 - 2.63 จึงส่งผลกับสีของดินทั้งก่อนเผาและหลังเผาและสีจะเข้มมากขึ้นตามช่วงอุณหภูมิการเผา ส่วนปริมาณของซิลิกาในเนื้อดินทั้งสามแหล่งส่งผลกับลักษณะความทนไฟของดิน จึงทำให้เนื้อดินสามารถเผาได้สูงถึง 1280 องศาเซลเซียส ส่วนของปริมาณน้ำที่ใช้ในการขึ้นรูปในเนื้อดินจากแหล่งเตาเผาบ้านจ่ามนัส แหล่งเตาเผาบ้านดงปู่ฮ่อและดินแหล่งเตาเผาบ้านหนองโต่ม มีปริมาณน้ำที่ใช้อยู่ระหว่างร้อยละ 23-28 มีค่าการหดตัวหลังเผา 1250 องศาเซลเซียส อยู่ในช่วงร้อยละ 6-12 และมีอัตราการดูดซึมน้ำของ เนื้อดินในช่วงอุณหภูมิ 1250 องศาเซลเซียส อยู่ระหว่างร้อยละ 6 - 7 ดังนั้นเนื้อดินใกล้แหล่งเตาเผาทั้ง สาม แหล่งสามารถนำไปใช้ในการทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาได้

Article Details

How to Cite
[1]
มาลี อ., “การวิจัยเนื้อดินบ้านบ่อสวก จังหวัดน่าน”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 7, ฉบับที่ 2, น. 234–244, ธ.ค. 2017.
บท
บทความวิจัย