การออกแบบและพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว สำหรับโรงเรือนเพาะปลูกแคนตาลูป

Main Article Content

ภูมิพัฒน์ กำคำ
ชัชวาล มงคล
สถาพร ดียิ่ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว สำหรับโรงเรือนเพาะปลูกแคนตาลูปและศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโต และผลผลิตของแคนตาลูปพันธุ์ซันเลดี้ 227 ระหว่างการปลูกในโรงเรือนที่เพิ่มแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้า (โรงเรือนหลังที่ 1) กับโรงเรือนที่ใช้แสงธรรมชาติ (โรงเรือนหลังที่ 2) ระบบสมองกลฝังตัวพัฒนาขึ้นจากบอร์ดอาดุยโน่ ยูโน่ อาร์3 ทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์แสงดิจิทัล บอร์ดนาฬิกา และโซลิดสเตตรีเลย์ การพัฒนาเฟิร์มแวร์ควบคุมการทำงานของระบบประกอบด้วย 2 ฟังก์ชัน คือ (1) เพิ่มแสงสว่างภายในโรงเรือน เมื่อแสงธรรมชาติต่ำกว่าค่าที่กำหนด และ (2) เลือกปริมาณการจ่ายสารละลายธาตุอาหารต่อวัน การทดลองปลูกครั้งที่ 1 พบว่า โรงเรือนหลังที่ 1 สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 49 - 52 วันหลังปลูก น้ำหนักผลเฉลี่ย 1,020 กรัม และความหวานเนื้อตรงกลางเฉลี่ย 14.2 องศาบริกซ์ โรงเรือนหลังที่ 2 สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 49 - 52 วัน หลังปลูก น้ำหนักผลเฉลี่ย 897 กรัม และความหวานเนื้อตรงกลางเฉลี่ย 14.8 องศาบริกซ์ การทดลองปลูกครั้งที่ 2 พบว่า โรงเรือนหลังที่ 1 สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 49 - 53 วันหลังปลูก น้ำหนักผลเฉลี่ย 1,366 กรัม และความหวาน เนื้อตรงกลางเฉลี่ย 8.8 องศาบริกซ์ โรงเรือนหลังที่ 2 สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 49 - 53 วันหลังปลูก น้ำหนักผล เฉลี่ย 1,324 กรัม และความหวานเนื้อตรงกลางเฉลี่ย 9.8 องศาบริกซ์

Article Details

How to Cite
[1]
กำคำ ภ., มงคล ช., และ ดียิ่ง ส., “การออกแบบและพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว สำหรับโรงเรือนเพาะปลูกแคนตาลูป”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 8, ฉบับที่ 2, น. 65–77, ธ.ค. 2018.
บท
บทความวิจัย

References

[1] Thongket T. Soilless cultivation of vegetable in greenhouse. Bangkok: Kasetsart University; 2007. (in Thai)
[2] Sukkran W, Maneepong S, Issarakraisila M. Nutrient solution tests for soilless cultivation of cantaloupe in Southern Thailand. Agricultural Sci. J. 2008; 39(3) (Suppl) : 209-212. (in Thai)
[3] Narkthewan A. Embedded system monitoring the environment for smart farm. Khon Kaen Agr. J. 2018; 46(1) (suppl.): 807-812. (in Thai)
[4] Japan System House Association. Embedded technology. Theeramunkong T, translator. Bangkok: Technology promotion association (Thailand-Japan); 2007. (in Thai)
[5] Arunjit P, Krotkla N, Wiengjunda P. Greenhouse for plant cultivation with automated control and monitoring via network system. The 16th TSAE national conference and the 8th TSAE international conference; 2015.p. 454-458. (in Thai)
[6] BBC. Photosynthesis [Internet]. n.d. [cited 2016 September 29]. Available from : https://www.bbc. co.uk/schools/gcsebitesize/science/add_edexcel/organism_energy/photosynthesisrev2.shtml
[7] CID Bio-Science. CI-340 Handheld photosynthesis system operation manual. CID Bio-Science: WA; 2011.
[8] Tira-umphon A, Kumthong U. Comparison of suitable melon cultivars for the greenhouse production. 39th Academic conference of Kasetsart University; 2001 February 5-7; School building center 3 Kasetsart University. Bangkhen, Bangkok; 2001. p. 548-555. (in Thai)
[9] Srisa-art A, Thin-khaonoi S. Rich with melon and cantaloupe. Bangkok: Nakha Intermedia; 2015. (in Thai)
[10] Junthaphrom S. Melon cultivation in greenhouse. Bangkok: MIS; 2015. (in Thai)
[11] Vejchasit R. Soilles cultivation of melon on rooftop. In Srisa-art A, editor. Rich with melon and cantaloupe. Bangkok: Nakha Intermedia; 2015. p. A13-A22. (in Thai)
[12] Nuangmek W, Papong P, Titayavan M. Effect of Trichoderma sp. on growth and disease control of cantaloupe (Cucumis melo) in the field. Khon Kaen Agr. J. 2014; 42(3) (suppl.): 680-685. (in Thai)