การออกแบบและพัฒนาเครื่องตัดเปลือกมะพร้าวน้ำหอม

Main Article Content

สมศักดิ์ คำมา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเครื่องตัดเปลือกมะพร้าวน้ำหอมขนาดเล็ก และทดสอบสมรรถนะการตัดเปลือกมะพร้าวนํ้าหอม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เป็นวัสดุทดแทนดิน ลดการทิ้งหรือเผาทำลาย ขั้นตอนในการวิจัย คือ ศึกษาคุณสมบัติกายภาพเปลือกมะพร้าว การออกแบบสร้างและทดสอบ เครื่องมีส่วนประกอบหลัก คือ โครงสร้างเหล็กชุดป้อน (ประกอบด้วยถังป้อนลูกกลิ้งป้อน) แท่นรองตัด รางระบายออก และชุดตัดใช้ใบมีด จำนวน 3 ใบ ยาว 160 มิลลิเมตร ยึดติดอยู่กับโรเตอร์ห่างกัน 120 องศา ใช้มอเตอร์ขนาด 1.5 แรงม้าเป็นต้นกำลังขับเพลา ชุดตัด และใช้มอเตอร์ขนาด 1/4 แรงม้าขับเพลาลูกกลิ้งป้อน ส่งกำลังด้วยสายพานวี ชนิด A ผ่านพูลเล่ย์ร่องวี หลังจากนั้นนำไปทดสอบสมรรถนะการตัดเปลือกมะพร้าวนํ้าหอมที่ผึ่งแดด 1, 3 และ 7 วัน ความเร็วรอบตัด 4 ระดับ และความเร็วป้อน 2 ระดับ ผลการทดสอบพบว่าความเร็วป้อนกับความเร็วตัดมีผลต่อขนาดความยาวที่ตัด ได้ความเร็วรอบตัด 900 - 1,050 รอบต่อนาที และความเร็วป้อน 317 รอบต่อนาที เป็นความเร็วรอบตัดที่เหมาะสม สามารถตัดเปลือกมะพร้าวให้มีขนาดเล็กและกลางมากที่สุด มีเปอร์เซ็นต์การตัดได้สูงสุดเท่ากับ 50.0 - 84.0% สามารถตัดได้เท่ากับ 69.7 - 168.5 กิโลกรัมต่อชั่วโมง และใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 4.0 x 10-5 - 9.3 x 10-5 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อกิโลกรัม มีเปอร์เซ็นต์การตัดเปลือกมะพร้าวขนาดเล็กและกลางได้สูงเกินกว่าร้อยละห้าสิบ ซึ่งขนาดดังกล่าวเหมาะสมต่อการนำไปใช้เป็นวัสดุทดแทนดิน และนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ

Article Details

How to Cite
[1]
คำมา ส., “การออกแบบและพัฒนาเครื่องตัดเปลือกมะพร้าวน้ำหอม”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 8, ฉบับที่ 2, น. 141–154, ธ.ค. 2018.
บท
บทความวิจัย

References

[1] Moosakopas K. Thedesign and construction of the dry coconut husk mill fornurseryseedling. Princessof Narahiwas University Journal. 2013; 5, (2): 48 -56. (in Thai)
[2] Khongton N, Sudajan S, Laloon K, Chusil S, Sogudlor N, Duangkhamjan J, et al. Effect of number of blade and cutting speed on the performance of cane leaf chopping unit. Agriculture Science Journal.2016; 47Supply3 : S409-12. (in Thai)
[3] Jareonkitpoonpon S. Machine design. Bangkok: Physicscenter Printing House.(in Thai)
[4] Soponronnarit S. Drying Grains and Some Typesof Foods, 7thed. Bangkok: King Mongkut's Institute of Technology Thonburi; 1997. (in Thai)
[5] Kamma S. Design on cutting machine for household food residues. indusadee N., editor. E-NETT 2017.13Th Conference on Energy Network of Thailand; 2017 May 31-June 2; The Empress Chiangmai Hotel, THAILAND; 2017. P. 1-7 (in Thai)
[6] Chachoengsao Agricultural Extension. Report of Agricultural economy 2016/2017. [Internet] [cited2018September1]. Avarilable from: https://www.chachoengsao.doae.go.th/New%2060/ economic%20crops%20%202559-60.pdf. (in Thai)
[7] Bantisak S. Coconut shell as planting material (replace soil) for planting organic vegetables. Journal of soil and water conservation. 2013; 28(2): 62. (in Thai)
[8] Villa FT. Coconut husk mini-chipper machine. International Journal of Engineering Research and General Science.2016; 4(1): 611-23.
[9] Hammed O, Abdulkareem S, Qluwadare O, Teslim A. Development of a polythenechippingmachine for recycling purposes. International Journal of Scientific & Engineering Research. 2015; 6(7): 556-61.
[10] Kumar S, Kumar H. Design and development of agricultural waste shredder machine. IJISETInternational Journal of Innovative Science, Engineering & Technology. 2015; 2(10): 164-72.
[11] Persson S. Mechanics of cutting plant material. United States of America: American Society of Agricultural Engineering; 1987.