นโยบายการสื่อสารการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในประเทศไทย

Main Article Content

นิรันดร์ ไชยรัตน์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง นโยบายการสื่อสารการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพัฒนาการของนโยบายการสื่อสารการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตามหลักการบริหารจัดการสาธารณภัยแนวทาง 2P2R สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ พบว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจการบริหารประเทศ ได้มีการปรับปรุงนโยบายด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งสอดคล้องกับวัฏจักรการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสากล การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติและการยอมรับตามแนวทางแบบ 2P2R ของเจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและหน่วยงานเครือข่าย พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับหลักการดังกล่าวเป็นอย่างดี (\bar{x}=3.06) เนื่องจากเป็นหลักการเดียวกันกับวัฏจักรการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสากล ส่วนทัศนคติ (\bar{x}=2.95) อาจมีความแตกต่างกันไปตามปัจเจกบุคคลที่เกิดจากการรับรู้สาระสำคัญ ผ่านการสื่อสารและการเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคในระหว่างการปฏิบัติงาน ส่วนการยอมรับหลักการไปปฏิบัติ (\bar{x}=2.77) ไม่มีความแตกต่างกัน 

 

Disaster Prevention and Mitigation Communication Policy in Thailand

In this research on “Disaster Prevention and Mitigation Communication Policy in Thailand,” the researcher examines the development of a communication policy applied to disaster prevention and mitigation in accordance with the principles of public hazard management formalized in 2P2R model. Findings are as follows: When there was a change in national administration, a policy for disaster prevention and mitigation was improved. However, the main ideas are still in consonance with those selected from international disaster prevention and mitigation principles. In studying factors affecting knowledge, attitudes and acceptance of the implementation of 2P2R principles for public hazard management by personnel, the researcher found the following. The subjects under study exhibited knowledge of these principles at a good level, since they were the same as those selected from international disaster prevention and mitigation principles. Individual attitudes may differ as a result of perceptions of the main ideas of the principles in view of communications, dealing with work performance problems and obstacles. In any event, no differences were found in respect to acceptance of the implementation of the principles.

Article Details

How to Cite
[1]
ไชยรัตน์ น., “นโยบายการสื่อสารการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในประเทศไทย”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 5, ฉบับที่ 2, น. 72–87, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย