การพัฒนาชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นวิธีเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง จำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

สุมิตรา ศรีธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นวิธีเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง จำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 ที่กำหนดไว้ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลอง ที่สอนโดยใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นวิธีเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง จำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กับกลุ่มควบคุมที่สอนโดยวิธีการสอนแบบปกติ 3) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่สอนโดยใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นวิธีเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องจำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กับกลุ่มควบคุมที่สอนโดยวิธีการสอนแบบปกติ

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 และ 2/11 โรงเรียนเบ็ญจะ-มะมหาราช ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 100 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 18 ชั่วโมง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการสอนโดยใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นวิธีเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องจำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 18 แผน 2) ชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นวิธีเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องจำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 4 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ .32-.80 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ .36-.71 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t แบบสองกลุ่มอิสระจากกัน

ผลการวิจัยพบว่า

1) ประสิทธิภาพของชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นวิธีเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องจำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.45/81.27 

2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นวิธีเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องจำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  

3)   เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นวิธีเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องจำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

A Development of the Mathematics Package Focusing on a Cooperative Learning Process Based on STAD on Real Number for Mattayomsuksa Two Students (Grade 8)

The research aimed 1) to develop a mathematics package focusing on a cooperative learning process based on STAD on real number for Mattayomsuksa two (Grade 8) students according to 80/80 criterion, 2) to compare the learning achievement of the experimental group taught by the mathematics package and the control group taught by a traditional teaching method, 3) to examine the attitude towards mathematics learning of the experimental group taught by the mathematics package and the control group taught by a traditional teaching method. 

The samples used in the research were 100 Mattayomsuksa two students of Benjamamaharat School in the second semester of the academic year 2013, derived by a cluster sampling. The research duration was 18 hours.

The research instruments comprised of 1) 18 lesson plans based on the mathematics package focusing on a cooperative learning process; 2) 18 lesson plans based on a traditional teaching method; 3) 4 mathematics packages focusing on a cooperative learning process on real number; 4) a 30-item multiple choice test on basic real numbers, which had a difficulty value (P) from .32.80, a discrimination value (r) from .36-.71 and a confidence value equivalent to .86; 5) a 20-item attitude measuring test of a five rating scale with a confidence value equivalent to .84. Statistics used in data analysis were mean, standard deviation and t-test.

The research findings were as follows. 

1.)   The efficiency of the mathematics package focusing on a cooperative learning process based on STAD for Mattayomsuksa two student was equivalent to 82.45/81.27.

2) The learning achievement of the experimental group taught by the mathematics package was higher than that of the control group taught by a conventional teaching method with a statistical significance of .01.

3) The attitude towards mathematics learning of the experimental group was higher than that of the control group with a statistical significance of .01.

Article Details

How to Cite
[1]
ศรีธรรม ส., “การพัฒนาชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นวิธีเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง จำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 5, ฉบับที่ 2, น. 216–231, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย