สายอากาศช่องเปิดสองแถบความถี่สำหรับโครงข่ายท้องถิ่นไร้สายโดยใช้วิธีผลต่างสืบเนื่องจำกัดในโดเมนเวลา

Main Article Content

เทพ เกื้อทวีกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้นำเสนอการออกแบบสายอากาศช่องเปิดสองแถบความถี่ที่ป้­อนด้ วยสายส่งสัญญาณแบบท่อนำคลื่นระนาบร่วม (CPW) สำหรับนำไปใช้ งานในย่านโครงข่ายท้ องถิ่นไร้สาย (WLAN) โดยโครงสร้างของสายอากาศประกอบด้วย ช่องเปิดรูปตัวแอลกลับด้านและสายส่งสัญญาณแบบท่อนำคลื่นระนาบร่วมสายอากาศนี้ใช้ระเบียบวิธี FDTD ในการวิเคราะห์  เพื่อศึกษาผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนขนาดช่องเปิดของสายอากาศ และคุณลักษณะบางตัวของสายอากาศ ประกอบด้วยค่าการสูญเสียย้อนกลับ (S11) อินพุตอิมพีแดนซ์: (Zin) อัตราส่วนแรงดันคลื่นนิ่ง (VSWR) ความหนาแน่นและแบบรูปการแผ่พลังงานสนามระยะไกล ตามลำดับ จากผลการจำลองได สองแถบความถี่ คือ 2.46 GHz (2.1 - 2.84 GHz) และ 5.20 GHz (4.76 - 5.69 GHz) ครอบคลุมตามมาตรฐานโครงข่ายท้องถิ่นไร สาย IEEE 802.11a/b/g โดยมีแบบรูปการแผ่พลังงานสนามระยะไกลของสองความถี่เรโซแนนซ์เป็นแบบ 2 ทิศทาง

 

Dual-Band Slot Antenna for WLAN Operations by using Finite Difference Time Domain Method

This paper presents the study and design of slot antenna fed by coplanar waveguide (CPW) for Wireless Local Area Network (WLAN) operations. The Geometry of the antenna consist invert L-shaped slot antenna and coplanar waveguide feed line. This antenna is analyzed by using Finite Difference Time Domain (FDTD) method. The effect caused by vary the width of slot are studied. The characteristics of antenna are proposed and analyzed for instance return loss, input impedance, VSWR, density, far-field radiation pattern, respectively. The simulated results can be obtained the dual frequency band at 2.46 GHz (2.1-2.84 GHz) and 5.20 GHz (4.76-5.69 GHz) can coverage the bandwidths of IEEE 802.11 a/b/g WLAN standard. The far-field radiation patterns of two resonance frequencies are bi-directional.

Article Details

How to Cite
[1]
เกื้อทวีกุล เ., “สายอากาศช่องเปิดสองแถบความถี่สำหรับโครงข่ายท้องถิ่นไร้สายโดยใช้วิธีผลต่างสืบเนื่องจำกัดในโดเมนเวลา”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 5, ฉบับที่ 1, น. 33–45, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย